เอี่ยมวิวัฒน์กิจ, . (1970, January 1). การสื่อข่าวสีเขียว : บทบาทสื่อมวลชนเพื่อโลกที่ยั่งยืน. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 5(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=164.

การสื่อข่าวสีเขียว : บทบาทสื่อมวลชนเพื่อโลกที่ยั่งยืน

วลักษณ์กมล เอี่ยมวิวัฒน์กิจ, โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักสำคัญ 2 ประการ คือ การพัฒนาที่มีเป้าหมายในเชิงอุตสาหกรรมและความยากจนหรือการด้อยพัฒนา ขณะเดียวกันขอบเขตของปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ไม่อาจจำกัดอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกได้ ภารกิจในการจัดการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเป็นภาระร่วมของทุกคนในโลก ทั้งนี้การจะจัดการดูแลปัญหาได้นั้นจำเป็นต้องเริ่มต้นจากความตระหนักรู้ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักขึ้นได้นั้นคือ สื่อมวลชน ความพยายามในการพัฒนาและหาแนวทางที่เหมาะสมในการให้ความรู้และข่าวสาร รวมทั้งสร้างความตระหนักและตื่นตัวในปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนี้ เรียกว่า “วารสารศาสตร์สิ่งแวดล้อม” หรือ “การสื่อข่าวสีเขียว” ที่นอกจากสื่อมวลชนจะทำหน้ารายงานข่าวเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารและสร้างความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว สื่อมวลชนต้องเป็น “ผู้ออกแบบ” โครงสร้างการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ เพื่อประสานผลประโยชน์และความเข้าใจที่ถูกต้องในเหตุการณ์ความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อมด้วย นอกจากนี้ การที่สื่อมวลชนจะทำหน้าที่ในการ “สื่อข่าวสีเขียว” ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรสื่อมวลชน จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานให้ก้าวพันความคิดหรือเป้าหมายเชิงธุรกิจที่มุ่งเข้าหามวลชนด้วย การขายข่าวตื่นเต้นและเรื่องความขัดแย้งในสังคมเท่านั้น เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่วิกฤติทวีคุณขึ้นนั้น “นักข่าวสีเขียว” จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ทำหน้าที่เพื่อมนุ(ายชาติและจรรโลงให้โลกดำเนินไปด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลระหว่างการพัฒนาและการรักษาสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหัวใจของแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน คำสำคัญ : การสื่อข่าวสีเขียว, วารสารศาสตร์สิ่งแวดล้อม, ข่าวสิ่งแวดล้อม, บทบาทสื่อมวลชน Environmental problems and natural resource deterioration result from two main causes namely industrial-based development and poverty (or underdevelopment), while their boundary cannot be limited to any particular part of the world, as they expand globalwise. Environmental management is thus a joint mission under the responsibility of every individual human being on earth. And it can be effective only through the awareness of the problems occurring. The keyperson to create such awareness is, of course, the mass media. The effort in developing and searching for an appropriate method of providing knowledge and information as well as creation an environmental concern is known as “environmental journalism” or “green reporting”. Apart from supplying news and information and creating an awareness in environmental problems, it is also the role of the mass media to design data presentation process in various aspects to coordinate both benefits and correct understanding of the conflicts that arise concerning environmental issues. Furthermore, for the mass media to play their role in supplying green reporting most effectively, the mass media organization will have to modify their working concept that transcend the “business” objectives-with their main target to “sell out” only sensational and conflicting social news. With an alarming increase in environmental crisis, the green reporter will have to assume the humanitarian role aiming to be a part in uplifting the world to achieve a balance between world development and preservation of natural environmental condition, which is the key to sustainable development concept. Keywords : green reporting, environmental journalism, environmental news report, mass media role

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=164