ลือเกียรติบัณฑิต, . (1970, January 1). อาการเหนื่อยหน่ายในการทำงาน : ประวัติการพัฒนามโนทัศน์ ความหมาย และการวัด. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 5(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=163.

อาการเหนื่อยหน่ายในการทำงาน : ประวัติการพัฒนามโนทัศน์ ความหมาย และการวัด

สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับอากการเหนื่อยหน่ายในการทำงานเรื่องประวัติการพัฒนามโนทัศน์การนิยามความหมาย ตลอดจนวิธีการวัดมโนทัศน์ การศึกษาอาการเหนื่อยหน่ายเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1974 แต่งานวิจัยที่ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบเริ่มมีมากขึ้นหลังปี 1980 นิยามของอาการเหนื่อยหน่ายที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบันคือ นิยามแบบสามองค์ประกอบของ Maslach และ Jackson ที่กล่าวว่า อาการเหนื่อยหน่ายคือ อาการอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดความเป็นบุคคลในผู้บริการ และความรู้สึกว่าตนไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้มากในผู้ประกอบอาชีพให้บริการแก่สังคม เช่น นักสังคมสงเคราะห์ บุคลากรทางการแพทย์ และครู เป็นต้น ส่วนแบบวัดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ Maslach Burnout Inventory (MBI) ซึ่งมีคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาอยู่ในระดับที่เป็นที่ยอมรับ คำสำคัญ : ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน, อาการอ่อนล้าทางอารมณ์, การลดความเป็นบุคคล, ความรู้สึก, ไม่ประสบความสำเร็จ, ความเครียด The article reviewed research on job burnout, focusing on the development. Definitions and measurements of the concept. Research on burnout has begun since 1974. However, systematic empirical research was not conducted until 1980. The most widely accepted definition of burnout is a three dimensional definition by Maslach and Jackson. According to this conceptualization, burnout is the symptoms of emotional exhaustion, depersonalization and the lack of personal accomplishment found in the human services workers such as social workers, health professionals and teachersetc. Maslach Burnout Inventory services workers such as social workers, health professionals and teachersetc. Maslach Burnout Inventory (MBI) is the most widely used instrument in research. It shows and acceptable psychometric property. Keywords : burnout, emotional exhaustion, depersonalization, personal accomplishment, stress, organizational psychology

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=163