ธรรมสัจการ, ., จงวิศาล, ., สีดากุลฤทธิ์, ., ขัตติยะ, ., & โยเหลา, . (1970, January 1). การสร้างเครื่องมือวัดภาวะผู้นำ. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 5(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=162.

การสร้างเครื่องมือวัดภาวะผู้นำ

วันชัย ธรรมสัจการ, ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รัตติกรณ์ จงวิศาล, ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเลย
สุทิติ ขัตติยะ, สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 กรุงเทพมหานคร
ดุษฎี โยเหลา, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือวัดภาวะผู้นำในองค์การเอกชน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างานระดับต้น ในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 240 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามภาวะผู้นำโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ (Critical Incident Technique) เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามและใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ประเภทการสำรวจ (Exploratory Analysis) ทำการหาคุณภาพโดยการวิเคราะห์ความคงที่ขององค์ประกอบ (stability) ด้วยวิธีการแบ่งครึ่งกลุ่มตัวอย่าง (split into two samples) ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือวัดภาวะผู้นำประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ลักษณะที่เกี่ยวกับหัวหน้างาน ลักษณะที่เกี่ยวกับการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานกับบุคคลอื่น และการให้โอกาสบุคคลอื่น โดยมีจำนวนข้อแต่ละองค์ประกอบ 19, 11, 6 และ 3 ข้อ ตามลำดับ ผลจากการหาความคงที่ขององค์ประกอบระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม พบว่า มีการกระจายของข้อกระทงสอดคล้องกับเกือบทุกองค์ประกอบ จากนั้นได้นำแบบวัดภาวะผู้นำที่สร้างขึ้นไปหาความคงที่ภายใน (internal consistency) ได้แก่  เท่ากับ .9582 คำสำคัญ : การสร้างเครื่องมือวัด, ภาวะผู้นำ, การวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ, การวิเคราะห์องค์ประกอบ The purpose of the study intends to construct the instrument of leadership in private organization. The two hundred and forty samples were primary leaders in electronic factories. The data was collected using questionnaire which was constructed by Critical Incident Technique (CTT) and analysed by Factor Analysis technique : exploratory analysis, and testing stability of the factors by split the sample into two samples. The finding presented that the instrument for leadership was separated into four four factors : characteristics of leaders, ways and means the leaders manipulated works, relationship between leaders and other workers, and provided opportunities to others; and the number of items in each factor was 19, 11, 6 and 3 respectively. The stability of the factors which analysed for two samples presented separating consistency of the items in almost factors and high internal consistency, ( =.9582). Keywords : instrumental construction, leadership, Critical Incident Technique, Factor Analysis

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=162