เขี้ยวแก้ว, ., สันติวรานนท์, ., & สารี, . (2004, October 21). ผลของการเรียนแบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 5(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=155.

ผลของการเรียนแบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้

สุวิมล เขี้ยวแก้ว, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุเทพ สันติวรานนท์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อุสมาน สารี, ภาควิชาโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการสอนที่มีกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือและศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 256 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาลและอีกครั้งหนึ่งจากโรงงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ่มควบคุมมีจำนวน 128 คน จัดให้ได้รับการสอนตามคู่มือครูของสสวท. และกลุ่มทดลองจำนวน 128 คน ได้รับการสอนโดยให้นักเรียนได้เรียนแบบร่วมมือเป็นเวลา 7 สัปดาห์ โดยในแต่ละโรงเรียนมีผู้สอนคนเดียวกันทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แบบแผนในการวิจัยครั้งนี้คือ Generalize Randomized Block Design (GRG-2) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี สำหรับสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยให้นักเรียนได้เรียนแบบร่วมมือและนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูของ สสวท. แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยให้นักเรียนได้เรียนแบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือของสสวท. อีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูของ สสวท. อีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลสูงกว่าของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และไม่มีปฏิกิริยาร่วมระหว่างวิธีสอนและประเภทของโรงเรียน คำสำคัญ : การเรียนแบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม, จังหวัดชายแดนภาคใต้ The purposes of this study were to develop lesson plans using Cooperative Learning activity and to investigate the effects of Cooperative Learning on achievement of students in public schools and Islamic private schools in southern border provinces. The samples were 256 Mathayomsuksa V students derived from simple random sampling. Half of the samples were derived from the public schools whereas the other half were from the Islamic private schools. Samples were equally deviled in to experimental and control groups. The 128 students in the experimental group was taught by using the Cooperative Learning method whereas the ones in the control group was taught by using the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST) teacher’s manual method. The same teacher was assigned to teach both groups in each school for 7 weeks. The research was designed by using Generalized Randomized Block Design (GRB-2). The achievement test in chemistry was employed to collect data. The statistics used in analyzing the data were arithmetic mean, standard deviation and F-test. It was found that students taught by using Cooperative Learning method had a significant higher achievement than those taught by IPST teacher’s manual method at .01 level. Students in public schools had a significant higher achievement than those in Islamic private schools at .01 level. There was no interaction between the teaching method and the school type. Keywords : Cooperative Learning, achievement in chemistry, Islamic private school, southern border provinces

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=155