วัฒนสิน, . (2004, October 21). ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 5(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=154.

ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ

วุฒิ วัฒนสิน, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของเรือกอและ วัฒนธรรมการตกแต่งลวดลายจิตรกรรม และวิเคราะห์ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและและประเภทปาตะกือระ (เรือกอและประเภทท้ายตัด) ในจังหวัดปัตตานี โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต การศึกษาจากเอกสาร และการบันทึกภาพแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ผลของการวิจัย สันนิษฐานได้ว่าเรือกอและน่าจะเกิดขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย แต่เดิมเรือกอและใช้ในการทำศึกสงคราม ปัจจุบันใช้เป็นพาหนะในการเดินทางและการประมง ส่วนประกอบของเรือที่สำคัญคือ ลำเรือ กระดูกงู กง กราบเรือ และอุปกรณ์ประจำเรือ วิธีการต่อเรือกอและประเภทปาตะกือระ มีขั้นตอนสำคัญคือ การเตรียมสถานที่ต่อเรือ ช่างต่อเรือ ไม้และเครื่องมือที่ใช้ในการต่อเรือ การต่อเรือจะเริ่มจากการตั้งกระดูกงู การต่อลำเรือ การวางกกง การวางโครงเรือ การเปิดส่วนหัวและส่วนท้าย การทำส่วนประกอบต่าง ๆ และการอุดรอยรั่วของลำเรือ การตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและและสันนิษฐานว่าคงจะเริ่มมีขึ้นเมือ่ไม่เกิน 1 ศตวรรษที่ผ่านมา การตกแต่งลวดลายเริ่มจากการแกะสลัก การฉลุลายและระบายสีตามลำดับ ส่วนประกอบของเรือกอและที่มีการตกแต่งลวดลายจิตรกรรม ได้แก่ กราบเรือด้านบนและด้านล่าง ดาวะปาลอ (ใบหัวเรือ) บางา จาปิง และแนแบงเดะ (ส่วนประกอบที่ปิดช่วงหัวเรือกับส่วนลำเรือ) ซางอ (ส่วนประกอบที่วางเสากระโดงเรือหรือหางเสือเรือ) ท้ายเรือภายใน ท้ายเรือภายนอก และรอแย (ส่วนประกอบที่ใช้ยึดกับหางเสือ) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือ ประกอบด้วย แปรงทาสี พู่กันแบน ดินสอ ภาชนะใส่สี น้ำมันก๊าด ผ้าเช็ดสี จานสีและสีน้ำมันกระป๋อง มีขั้นตอนการตกแต่งเริ่มจาก การรองพื้นสี การร่างภาพและการระบายสี ลวดลายจิตรกรรมที่ตกแต่งบนเรือกอและประเภทปาตะกือระเป็นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ระหว่างศิลปะไทย ศิลปะอิสลาม และศิลปะจีน ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลวดลายพรรณไม้แบบเถาเลื้อยและลายหน้ากระดาน ภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ในจินตนาการจากประเพณีท้องถิ่น ศาสนา วรรณคดี และศิลปะการแสดง นอกจากนี้ยังมีภาพสัตว์หิมพานต์ สัตว์ในจินตนาการของจีน ภาพสัตว์น้ำ และภาพทิวทัศน์ ผลการวิจัยที่ศึกษาลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและปาตะกือระ ในจังหวัดปัตตานี พบว่า 1. การจัดองค์ประกอบของลวดลายจิตรกรรม ส่วนใหญ่มีความสมดุลแบบเหมือนกันทั้ง 2 ข้าง 2. จุดเด่นคือลวดลายจิตรกรรมจะอยู่บนกราบเรือด้านล่าง ในขณะที่จุดเด่นรองจะอยู่บนดาวะปาลอ 3. การเคลื่อนที่ของสายตาส่วนใหญ่ เคลื่อนที่โดยมีทิศทางในแนวนอน 4. ลวดลายจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเป็นเอกภาพ และมีความกลมกลืนกันของเส้น รูปร่าง ขนาดและสี คำสำคัญ : เรือกอและ, ลวดลายจิตรกรรม This research was aimed at investigating the historical development of the Golek boats and the culture of boat decoration, and analyzing the decorative painting found on one type of the Golek boats in Changwat Pattani. The boats are called ‘pata?kEra?’ in a local Malay dialect. Literaly, pata?’ means “the end or the bottom of a container”, and ‘kEra?’ means “be cut”, Data was collected through interviews, observation, documentary research and photographic study; the decorative designs on the boats were then analyzed, based on the principles of art composition. Presumable, the Golek boats might have had their origin prior to the Sukhothai period. Originally, the boats served as war vessels, but nowadays they are used primarity as traveling and fishing vehicles. Each vessel consists of the hull, the keel, the ribs, the gunwales, and other boat accessories. Preparations of a shipyard, shipwrights, hardwood, and tools are essential in the pata?kEra? boat building. The boat is built by first setting up the keel, building the main body, positioning the ribs and the whole boat frame, butting the bow and the stern, adding other boat accessories and lastly sealing up the hull. Decorative designs on the Golek boats might have begun no more than a century ago; the designs are carved, perforated and painted, respectively. Decorative painting is found on the upper and lower gunwales; ‘dawa? palO’ (The bow) ; ‘baNa;’: ‘capiN’ and ‘n2g3N-de?’(three woodpieces partitioning the bow and the body of the boat); ‘sa-NO’ (a resting place for the sail mast or the rudder), on the stern interior and exterir, and ‘rO;y3’ (a steering oar to which the rudder is connected). Painting materials and tools include a priming brush, a flat brush, pencils, paint containers, kerosene, cleaning cloth, a palette and tins of oil paint. The painting technique begins with priming, followed by sketching of designs and pictures, and the painting proper. The designs and motifs on the ‘pata?kEra?‘ boats are the cultural blend of Thai, Islamic and Chinese arts. Most typically found are the floral designs with intertwined sprays, and rows of repetitive patterns.Generally, the paintings depict mythical creatures derived from local customs, religion, literature and Generally, the paintings depict mythical creatures derived from local customs, religion, literature and performance art ; pictures of Indian and Chinese mythical creatures, marine animals, and scenic landscapes are not uncommon. With regard to the decoration found on the ‘pata?kEra?’ boats in Changwat Pattani, it was found Thai : 1. the art composition of the decorative paintings exhibits a symmetrical balance; 2. the dominance of the paintings is on the lower gunwales while the sub-dominance lies on the ‘dawa?palO’ 3. eye movement patterns are horizontal in general ; and 4. unity is expressed in most paintings, with lines, shapes, sizes and colors all in harmony. Keywords : Golek boat, decorative painting

Full Text: Not available




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=154