การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติและประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเมืองจังหวัดปัตตานี และเปรียบเทียบความแตกต่างของเจตคติและประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียนตามตัวแปรด้านเพศ ศาสนา อาชีพหลักของบิดามารดา และระดับการศึกษาของบิดามารดา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตเมืองจังหวัดปัตตานี จำนวน 326 คน
ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือสำหรับวัดเจตคติและประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศเป็นแบบสอบถาม 1 ชุด เมื่อสร้างเครื่องมือเสร็จแล้ว ได้มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเจตคติโดยนำไปทดลองใช้ และคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ coefficient alpha ได้ค่าเท่ากับ .86 หลังจากนั้นจึงนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริง และนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์โดยใช้ t-test และ one-way ANOVA ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิจัยในด้านเจตคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ พบว่า
1. นักเรยนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเมืองจังหวัดปัตตานีมีเจตคติเกี่ยวกับเรื่องเพศเชิงบวก คือมีความรู้สึกที่ดีงามและเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการและวัฒนธรรมของสังคม
2. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีเจตคติเกี่ยวกับเรื่องเพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกี่ยวกับเรื่องเพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธและนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามมีเจตคติเก่ยวกับเรื่องเพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01
4. นักเรียนที่บิดามารดามืออาชีพหลักรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานธนาคารและลูกจ้างบริษัท เจ้าของธุรกิจหรือค้าขาย เกษตรกร กรรมกรหรือรับจ้างรายวันและไม่ได้ทำงาน มีเจตคติเกี่ยวกับเรื่องเพศไม่แตกต่างกัน
5. นักเรียนที่บิดามารดามีการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและสูงกว่าอนุปริญญา มีเจตคติเกี่ยวกับเรื่องเพศไม่แตกต่างกัน
ผลการวิจัยในด้านประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศ พบว่า
1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเมืองจังหวัดปัตตานีมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องเพศน้อย
2. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องเพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธและนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องเพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่บิดามารดามีอาชีพหลักรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานธนาคารและลูกจ้างบริษัท เจ้าของธุรกิจหรือค้าขาย เกษตรกร กรรมกรหรือรับจ้างรายวันและไม่ได้ทำงาน มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องเพศไม่แตกต่างกัน
5. นักเรียนที่บิดามารดามีการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและสูงกว่าอนุปริญญา มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศไม่แตกต่างกัน
คำสำคัญ : เจตคติ, ประสบการณ์ทางเพศ, นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
The purposes of this research were to study the sttitude and sex experience of higher secondary school students in the urban area, Pattani province and to compare the students differences in attitude and sex experience with respect to sex, religion, parents career and parents educational background. The subjects under this study were 326 Matthayomsuksa 4-6 students in the urban area, Pattani province.
The research instrument was a questionnaire on attiude and sex experience designed by the researcher. The content validity of the questionnaire was establishedby 5 experts; its reliability was .86 coefficient alpha. The was analyzed using t-test and one-way ANOVA.
The results of the research were as follows :
1. Higher secondary school students in the urban area, Pattani province has a positive attitude toward sex, seemly and relevant within the social demand and Thai cultural context.
2. Female and male students sttitude toward sex was significantly different at the level of .01.
3. Buddhist and Muslim students attitude toward sex was significantly different at the level of .01.
4. There were no significant differences in attitude toward sex among students whose parents were civil servants, state enterprise employees, bank officers, company clerks, businessmen, merchants, agriculturists, laborers and unemployed workers.
5. There were no significant differences in attitude toward sex among students whose parents attained primary education, secondary or higher education.
With respect to sex experience, it was found that :
1. Higher secondary school students in the urban area, Pattani province encounterd limited sex experience.
2. Female and male students direct encounter with sex experience was significantly different at the level of .01.
3. Buddhist and Muslim students, direct encounter with sex experience was significantly different at the level of .05.
4. With respect to direct encounter with sex experience, there were no significant differences as among students whose parents were civil servants, state enterprise employees. Bank officers, company clerks, businessmen, merchants, agriculturists, labourers and unemployed workers.
5. The encounter with sex experience among students whose parents attained primary education, secondary or higher education was not significantly different.
Keywords : attitude, sex experience, higher secondary school students
Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.