การวิจัยประเมินผลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการสุขภาพมารดาและเด็กว่าส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมารดาและเด็กอย่างไร การส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็กด้วยการจัดการเรียนรู้ทางสังคมทำให้ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาและเด็ก่อนและหลังการจัดเปลี่ยนแปลงอย่างไร และการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็กปี 2538-40 ติดต่อกัน ทำให้ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาและเด็กก่อนและหลังการจัดมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีความก้าวหน้าอย่างไร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายมารดาและหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนรอบอ่าวปัตตานี เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้ทางสังคม การสนทนากลุ่มแบบเจาะลึก สาธิตฝึกทักษะ และติดตามผล ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสำรวจคุณภาพชีวิตของมารดาและเด็ก และแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาและเด็ก การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าที ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ และสร้างสมการพยากรณ์ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาและเด็ก ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพของชีวิตของมารดาและเด็กในชุมชนรอบอ่าวปัตตานีปี 2540 เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยไปจากปี 2538-39 มารดาส่วนใหญ่ร้อยละ 81 จะไปฝากครรภ์ที่สถานบริการสุขภาพใกล้บ้าน รับประทานอาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ เรียนรู้เรื่องการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดจากสังคมแวดล้อม เมื่อครบกำหนดคลอด มารดาส่วนใหญ่จะคลอดบุตรที่บ้านของตน โดยมีผดุงครรภ์โบราณช่วยทำคลอด ใช้นมมารดาเลี้ยงบุตรและนำไปรับวัคซีนป้องกันโรค และให้อาหารเสริมเด็กตามวัย ถึงแม้มารดาจะเข้าใจการป้องกันโรคติดต่อเด็กเพียงเล็กน้อยแต่โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็กครั้งนี้ ทำให้ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาและเด็กดีขึ้นมากด้วย การจัดการเรียนรู้ทางสังคม โดยมารดามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.47 จากร้อยละ 60.59 ในปี 2540 ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาก่อนและหลังการจัดโดยรวมและรายหมู่บ้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการจัดการเรียนรู้ทางสังคมตามโครงการสุขภาพมารดาและเด็กปี 2538-40 อย่างต่อเนื่อง ทำให้ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาก่อนและหลังการจัดมีความสัมพันธ์กันสูง วัดค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ® ได้ .97 มารดาสามารถเรียนรู้ทางสังคมได้ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนเพิ่มขึ้นปีละร้อยละ 14 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาและเด็กดังนี้ y=5.38+1.14x
คำสำคัญ : การส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก, คุณภาพชีวิตของมารดาและเด็ก, การเรียนรู้ทางสังคม, ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตนของมารดาและเด็ก
This evaluation study aimed to investigate the maternal and child health project. Notably, how was the life quality of mother and child promoted by the project?; how were the maternal self-practice and childcare perceptions before and after the maternal and child health promotion in 1995-97 correlated continuously by social learning process?, and how progressed? The sample studied contained the mother and pregnant woman group in Pattani bay community. The research instrument employed the social learning process such as focus group discussion, demonstration, skill training and supervision. Meanwhile, instrument with validity and reliability for data collection contained a set of life quality of mother and child survey questionnaire, and three sets of test of maternal self-practice and childcare perception. In addition, data analysis was engaged with frequency, percentage, t-test, coefficient correlation r, and regression to build a predictive equation.
As a result this study indicated: The life quality of mother and child in Pattani bay community in 1997 changed a little from the previous year 1995-96. Most of mother (81 %) visit prenatal clinic at nearby health center, consume as usual as before pregnancy, having prenatal care, delivery and postnatal care as social learning process. When complete pregnancy, the mother will deliver at home with midwifes assistance, providing breast feeding, vaccination and supplemented diet to the child. Despite the mother perceived the prevention of communicable disease in child very little, the maternal and child health promotion affected the maternal self-practice and childcare a lot. With the social learning process, the maternal self-practice and childcare perception was increased to 75.47 % from 60.59 % in 1997. Then, the overall perception, before and after the process, was significantly different at .01 level, as well as in each village. In addition, the maternal and child health promotion during 1995-97 affected the association of the maternal self-practice and childcare perception a lot, with coefficient correlation r to .97. Consequently, the mother learned the maternal self-practice and childcare perception by the social learning process, and gained 14 % annually, as the predictive equation of the maternal self-practice and childcare perception was constructed as follows: y = 5.38+1.14X
Keywords: maternal and child health promotion, life quality of mother and child, social learning process, maternal self-practice and childcare perception
Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.