และ เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี, ., & and Saowalk Roongtawanreongsri, <. (2004, September 14). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชน: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
The Promotion of Public Participation and Learning Process on Solid Waste Management : A Case Study of Prik Municipality, Tambon Prik, Amphoe Sadao, Changwat Songkhla. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 10(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=124.

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชน: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
The Promotion of Public Participation and Learning Process on Solid Waste Management : A Case Study of Prik Municipality, Tambon Prik, Amphoe Sadao, Changwat Songkhla

ปานกมล พิสิฐอรรถกุล และ เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี,

Pangamol Pisitattagul and Saowalk Roongtawanreongsri,

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในการจัดการมูลฝอยในชุมชนปริกตก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า การใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย สามารถพัฒนาการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนได้ ผลเบื้องต้นก่อให้เกิดโครงการแก้ไขปัญหามูลฝอยตามบริบทและศักยภาพของชุมชน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในการจัดการมูลฝอย ได้แก่ การขาดผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง สถานการณ์ความขัดแย้งด้านการเมืองในชุมชน สภาพสังคม และข้อจำกัดของเทศบาลด้านบุคลากร งบประมาณ และเวลา สำหรับปัจจัยที่สนับสนุน ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสาร การดำเนินการเชิงรุกโดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยภายนอก และการประสานงานที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

คำสำคัญ: กระบวนการเรียนรู้, การจัดการมูลฝอย, การมีส่วนร่วม, เทศบาลตำบลปริก, สิ่งแวดล้อมศึกษา

Abstract
This participatory action research aimed to develop participation and learning process of Prik-tok community, Amphoe Sadao, Changwat Songkhla on managing their solid wastes. The results of the study showed that using a participatory action research could promote people participation in solid waste management. It resulted in solid waste management programs fitting to the community's context. This led to the on-going practical programs, which run by the community and supported by local municipality. Factors hindering the participation included political leadership, political conflicts, social conditions and limitations of the municipality supports such as budget, personnels and time. Factors aiding included the reception of information concerning the project, learning input from active participatory action research method, supports and cooperation from the external factors and continuous and effective coordination.

Keywords : environmental education, learning process, Prik Municipality, public participation, solid waste management

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=124