วาณิชย์ศุภวงศ์, . (2004, September 14). การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=118.

การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา

เธียรนันท์ วาณิชย์ศุภวงศ์, ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาสุขภาพให้บรรลุผลสุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2543 โดยใช้กลวิธีการสาธารณสุขมูลฐานในปี 2521 ประเทศสมาชิกต่างขานรับและนำไปประยุกต์ใช้ดำเนินงาน การส่งเสริมสุขภาพเป็นการจัดกิจกรรมทางสังคมเพื่อพัฒนาสุขภาพ สามารถสนับสนุนเป้าหมายการมีสุขภาพดีได้ 2 ประการคือ ส่งเสริมการดำเนินวิถีชีวิตที่ดี และจัดกิจกรรมทางสังคมด้านสุขภาพ อย่างไรก็ตามการส่งเสริมสุขภาพมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแต่กลับได้รับการสนับสนุนงบประมาณน้อยมาก นอกจากการให้ความรู้อย่างเดียวก็ยังไม่พอ ต้องอาศัยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อกับการมีวิถีชีวิตสุขภาพดีด้วย ดั้งนั้นการส่งเสริมสุขภาพควรประกอบด้วยกิจกรรมพื้นฐาน 3 ประการคือ การชี้แนะ เพื่อสนับสนุนสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมด้านสุขภาพ และการสร้างพลังอำนาจประชาชนด้วยการให้ความรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพ ในการส่งเสริมสุขภาพ หน่วยงานสุขภาพจะต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งองค์กรของรัฐและองค์การที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ (NGOs) และองค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นองค์รวม ยกตัวอย่างประเทศไทยได้ประกาศใช้นโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2543 จนประสบความสำเร็จ ได้เปลี่ยนจากประเทศสังคมเกษตรไปสู่ประเทศกึ่งเกษตรอุตสาหกรรมและบริการ รายได้ประชากรเพิ่มขึ้น ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยถึง 69 ปี ในปี 2536 และอัตราตายของเด็กแรกเกิดลดลงมาก แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้กระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ สภาวะสุขภาพได้เปลี่ยนจากโรคติดเชื้อและพยาธิไปเป็นโรคเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็งขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ไปสถานีอนามัยและโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากโรคติดเชื้อ เช่น อุจจาระร่วง ไข้เลือดออก ในเวลาเดียวกันนี้ยังพบปัญหาสุขภาพใหม่ ๆ เช่น ยาเสพติด อุบัติภัย โรคเอดส์ และมลพิษสิ่งแวดล้อมประกอบกับประเทศได้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ประชาชนต้องเผชิญค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น บริการสุขภาพยังไม่ครอบคลุม และระบบสาธารณสุขยังล้าหลัง ดั้งนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเดียวจะไม่พอ จะต้องกำจัดความแตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มผลผลิตไปแก้ปัญหาความยากจน โดยใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียง การพึ่งตนเอง และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนึ่งการชี้แนะเพื่อสนับสนุนสุขภาพให้นายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าการลงทุนทางด้านสุขาภาพให้ผู้ยากจน จะส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความยากจน พร้อมกับปฏิรูประบบสาธารณสุขให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และแก้ปัญหาสุขภาพของประเทศ คำสำคัญ : การส่งเสริมสุขภาพ, กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ประเทศกำลังพัฒนา, สาธารณสุขมูล ฐาน As a target of health development to achieve health for all in 2000 was determined by the world health organization in 1978, with the strategy of primary health care. Member countries accepted and implemented the program. As social activities for health development, the health promotion can support two health targets notably: promotion of healthy lifestyle, and social activities for health. In contrary, the health promotion, a key ingredient of life quality, was allocated with the limited budget. Only providing the knowledge is not enough, it also needs the environmental improvement to support the healthy lifestyle. Consequently, the health promotion should contain three basic components: advocacy, social support, and empowerment. In health promotion, health agency could coordinate and have the other, government and non-government organization (NGO), and community organizations participated in the development holistically. For example, Thailand had implemented the policy of health for all in 2000 and succeeded in changing the country from agriculture society to semi-agriculture industry and service. Income increased, life expectancy expanded to 69 years in 1993, and infant mortality rate declined. But the economy grown did not distribute equally. However, the health status has changed from infectious and parasite diseases to chronic diseases, heart diseases and cancer. Meanwhile, most of the people go to health problems of drug abuse, accidents, AIDS, and environmental pollution. Attacked by the previous economic crisis, the people faced high health care cost, under-covered health service distribution, and obsolescent public health system. Then , only life quality development is not enough, it also needs to eradicate the socio-economic different by increasing the production to solve poverty through the sufficient economic theory, self help, using the local intelligence. In fact, advocacy to the prime minister, and finance minister, WHO suggested that investment in health for the poor can promote the economic growth and decrease the poverty. In addition, public health system needs reform to distribute health services to people equally and justly, solving the country health problems. Keywords: developing countries, health promotion, health promotion activities, primary health care

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=118