นิสสภา, ., Iwamoto, N., มะแส, ., & Hara, N. (2004, September 14). การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมต่อการจัดการจัดการร่วมในโครงการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินพรุของสมาชิกนิคมสหกรณ์บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=116.

การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมต่อการจัดการจัดการร่วมในโครงการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินพรุของสมาชิกนิคมสหกรณ์บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

อยุทธ์ นิสสภา, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Noriaki Iwamoto, Department of Agriculture and Resource Economics, Faculty of Agriculture, The Un
อาแว มะแส, ภาควิชาพัฒนาการการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Naoyuki Hara, Department of Regional and Social Systems, Faculty of Economics, Kagawa Universi

Abstract

การจัดการร่วมเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการจัดการที่ภาครัฐ เอกชน และประชาชนมีส่วนในการปกครองและรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการพรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้ทำการวิจัยการจัดการร่วมที่เกิดขึ้นในโครงการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินพรุหรือดินเปรี้ยวของนิคมสหกรณ์บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำการแยกแยะดัชนีชี้วัดเชิงพฤติกรรมของสมาชิกนิคมสหกรณ์บาเจาะที่เกิดจากการจัดการร่วมนั้น ๆ โดยพิจารณาในประเด็นของความเสมอภาค ความมีประสิทธิภาพและความยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้ทำการวัดการเปลี่ยนแปลงของดัชนีชี้วัดดังกล่าว เพื่อที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของดัชนีชี้วัดเหล่านี้กับลักษณะทางเศรษฐกิจสังคม และทัศนคติบางประการของสมาชิกในโครงการปลูกปาล์มน้ำมัน ผลของการวิจัยพบว่าพฤติกรรมของสมาชิกในเกือบทุกดัชนีชี้วัดมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกที่เป็นผลมาจากการจัดการร่วมนี้ และปัจจัยทางด้านอายุ ขนาดของครัวเรือน ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน ความผูกพันกับอาชีพการปลูกปาล์มน้ำมันและรายได้จากแหล่งอื่น ๆ มีค่าสัมประสิทธิสหพันธ์กับดัชนีชี้วัดเชิงพฤติกรรมบางประการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับความสำเร็จของการจัดการร่วมในนิคมสหกรณ์บาเจาะ คำสำคัญ : การจัดการร่วม, ความเสมอภาค, ความมีประสิทธิภาพ, ความยั่งยืน, ดัชนีชี้วัดพฤติ กรรม, สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Co-management is one of the management strategies in which government, private and local sector share their authority/responsibility to manage the resources for the attainment of a specified goal. This research has taken place in co-management arrangement that were being implemented in the Oil palm Production in Peat Swamp Soil Project of Bacho Land Settlement Cooperatives (BLSC), Narathiwat Province. The objectives of this research were to identity performance indicators resulting from the co-management arrangement with respect to equity, efficiency and sustainability considerations; to measure perceived changes of these performance indicators; and to relate some socio-economic and attitudinal variables to the significant performance indicators. Using correlation analysis, it was found that most performance indicators exhibited desirable positive perceived changes as the result of the co-management scheme. These variables are age, household size, years of living in the community, dependence on oil palm as main occupation and income from other sources appeared to have significant correlation coefficients with some of the performance indicators. These variables can be important factors in contributing to the success of the co-management arrangements in the BLSC. Keywords: co-management, correlation coefficient, efficiency, equity, performance indicators, sustainability

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=116