ภัควนิตย์, . (2004, September 14). ฟังก์ชันต้นทุนและการผลิตกุ้งกุลาดำในจังหวัดนครศรีธรรมราช. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=111.

ฟังก์ชันต้นทุนและการผลิตกุ้งกุลาดำในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ทวีวิทย์ ภัควนิตย์, สำนักวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้ศึกษาหาต้นทุนประเภทต่าง ๆ พร้อมกับแนวทางการลดต้นทุนการผลิต และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อให้การผลิตเกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงสุด ทั้งนี้เกษตรกรสามารถนำเอาผลการวิจัยไปปรับโครงสร้างการลงทุนและการจัดการฟาร์มของตนเองได้ ในขณะที่ภาครัฐก็สามารถนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนและส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำให้เป็นอาชีพที่พึ่งตนเองได้ต่อไป จากการศึกษาการผลิตกุ้งกุลาดำในรอบแรกของปีการผลิต 2541 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏว่าระดับผลผลิตเฉลี่ยที่ได้รับเท่ากับ 935.40 กิโลกรัม/ไร่ โดยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 284.09 บาท/กิโลกรัม และต้นทุนรวมเฉลี่ย 106,277.62 บาท/ไร่ ดั้งนั้นเกษตรกรจึงมีกำไรจากการผลิตเท่ากับ 159,460.17 บาท/ไร่ และจากการวิเคราะห์สมการต้นทุนการผลิต พบว่าที่ปริมาณการผลิต 51.06 ตัน เป็นปริมาณการผลิตที่ทำให้เกษตรกรได้รับกำไรรวมสูงสุดในขณะที่ปัจจุบันมีระดับการผลิตเฉลี่ยเพียง 3.3 ตัน/ราย เท่านั้น สำหรับประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการใช้ปัจจัยการผลิต ปรากฏว่ายังต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กล่าวคือถ้าราคาที่เกษตรกรขายได้ 284.09 บาท/กิโลกรัม ประสิทธิภาพเศรษฐกิจของการใช้ปัจจัยการผลิตจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณการให้อาหาร กำลังแรงงานที่ใช้ หรือพื้นที่เพาะเลี้ยง อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นโดยกำหนดให้ปัจจัยการผลิตที่เหลือคงที่ แต่ถ้าหากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 170 บาท/กิโลกรัม ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการใช้ปัจจัยการผลิตจะเพิ่มขึ้นเมื่อลดปริมาณการให้อาหารลง ในขณะที่ต้องเพิ่มกำลังแรงงานที่ใช้ หรือพื้นที่เพาะเลี้ยง อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นโดยกำหนดให้ปัจจัยการผลิตที่เหลือคงที่ คำสำคัญ : กุ้งกุลาดำ, ความยืดหยุ่นของการผลิต, ต้นทุนการผลิต, ผลตอบแทนต่อขนาด, รายรับ เพิ่ม The objective of this research is to evaluate economically the ongoing situation of black tiger shrimp farming in Nakhon Si Thammarat province. The study is carried out through an analysis of various cost types with an aim of finding ways to reduce the cost of production. In addition to various cost type, the economic efficiency of the inputs used in the production was also analysed in order to work out maximum economic efficiency of the production process. The research results can be used by the private sector, particularly the farmers to restructure their investment and farm management. At the same time, the government sector can also make full utilization of the results for planning to support the farmers to raise black tiger shrimp independently and efficiently in the long run. The research found that on average the production of the first crop in 1998 was 935.40 kilogram/rai, while the farm price was 284.09 baht/kilogram with a total cost of 106,277.62 bath/rai. Thus, the profit gained was 159,460.17 baht/rai. Regarding the results of the cost function analysis, it was found that the farmer would have to produce 51.06 tons in order to reach maximum profit while at present the farmer produces only 3.3 tons on average. As for the economic efficiency of inputs, it was found to be not optimal. Based on the results of this study, a suggested solution for the farmers to maximize economic efficiency of the inputs is the following: with other factors fixed, if the farm price is 284.09 baht/kilogram, then the economic efficiency will rise on condition that the farmer increases the amount of the following inputs: feed; working hours or production areas. However, with other factors fixed, if the farm price is reduced to be 170 baht/kilogram, the economic efficiency can be increased provided that the farmer decreases the amount of feed, and chooses to either increase working hours or expand production areas. Keywords: black tiger shrimp, cost of production, marginal revenue, production elasticity, return to scale

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=111