พจนตันติ, . (2004, September 14). การเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=110.

การเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม

ณัฐวิทย์ พจนตันติ, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การเรียนการสอนตามแนว STS Approach เป็นการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ทำให้นักเรียนเห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือสิ่งที่อยู่รอบตัว เห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการดำรงชีวิต สามารถใช้และประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนให้เกิดประโยชน์ได้ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนว STS Approach มีจุดเริ่มต้นมาจากคำถามหรือปัญหาที่ผู้เรียนเป็นผู้พบเอง หรือเกิดจากสถานการณ์ที่ครูสร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนค้นหาคำตอบ สิ่งที่เรียนคือสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าการเรียนวิทยาศาสตร์ คือการเรียนรู้เรื่องของตนเองและการเรียนเพื่อตนเอง วิทยาศาสตร์คือสิ่งที่เป็นจริงของชีวิต คือสิ่งที่มีคุณต่อผู้เรียน วิทยาศาสตร์เรียนได้ทุกหนแห่ง ไม่ใช้เฉพาะในโรงเรียน ให้ห้องเรียน ในคาบเรียนหรือในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่สังคม ชุมชนและท้องถิ่นคือแหล่งของการเรียนรู้ เป็นห้องปฏิบัติการเปิดขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษา เหตุการณ์และสถานการณ์จริง ผลผลิตจากการจัดการเรียนการสอนตามแนว STS Approach ก็คือผู้เรียนสามารถเกิดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ได้จากการประมวลด้วยตนเอง เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม เห็นความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม สามารถนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีเหตุมีผล รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักพัฒนาตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีและเป็นสมาชิกที่ดีที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ต่อชุมชนและท้องถิ่น คำสำคัญ : วิทยาศาสตร์ศึกษา, การสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม, ความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม The STS approach is a form of teaching and learning of science focusing on student-centered strategies and enabling student to view science and technology within an immediate real-life context. It would also enable students to value science in terms of life survival factors and to utilize the knowledge gained to greater benefit. The STS approach starts out with the student’ own questions or problems, or with situations constructed by the teacher in order to encourage the student to find out the answers. What is covered by the STS approach is relevant to the students. They will become aware that science is a means of learning about themselves and for themselves, and that science is reality of life worth learning. Science can be learnt not just in school, in a classroom, or in a science laboratory, but practically everywhere. Society and community are the reservoirs of learning, a large open laboratory where scientific method can be practiced and scientific concepts can be formulated out of real situations or contexts. Through the STS approach, students would be able to form scientific concepts by themselves, and consequently acquire mastery of science, technology and social literacy. They would gain insight into the interactions among these three aspects, and be able to apply their knowledge in daily life. In addition, they would become more rational, with greater critical thinking ability. They would know how to improve themselves, be cooperative, and be able to fulfil their responsibilities as members of the community and society at large. Keywords: Science Education, Teaching Science, STS Approach, STS Literacy

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=110