บุญช่วย, ., วาณิชย์ศุภวงศ์, ., & บุญช่วย, . (2004, September 14). การสังเคราะห์งานวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ที่ศึกษาในพื้นที่ภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=107.

การสังเคราะห์งานวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ที่ศึกษาในพื้นที่ภาคใต้

อำภา บุญช่วย, ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุวิทย์ บุญช่วย, ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของงานวิทยานิพนธ์และสังเคราะห์ข้อค้นพบจากวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างปีพ.ศ. ดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกรายละเอียดงานวิทยานิพนธ์ สถิติใช้ค้าร้อยละ ผลการสังเคราะห์งานวิจัยสรุปได้ดังนี้ การสังเคราะห์ผลการวิจัย สามารถแบ่งเนื้อหาได้เป็น 7 กลุ่มคือ การบริหารงานตามกระบวนการบริหารงานของผู้บริหาร การบริหารงานตามภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน การบริหารงานตามภารกิจของผู้บริหารสำนักงานทางการศึกษา การบริหารงานโดยคณะกรรมการ ภาวะผู้นำทางการศึกษา การนิเทศการศึกษา และการบริหารการศึกษาอื่น ๆ ข้อค้นพบจากเนื้อหาทั้ง 7 กลุ่มปรากฏดังนี้ 1) การปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารของ Gulick และ Urwick (POSDCoRB) ส่วนใหญ่ผู้บริหารปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารของผู้บริหารจำแนกตามตัวแปรต่าง ๆ ส่วนใหญ่ไม่พบความแตกต่าง 2) การบริหารงานตามภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน ส่วนใหญ่ผู้บริหารปฏิบัติภารกิจทั้ง 6 งานที่เป็นจริงในระดับปานกลาง และที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารยังปฏิบัติงานธุรการและการเงินมากกว่างานด้านอื่น ๆ 3) การบริหารงานตามภารกิจของผู้บริหารสำนักงานการศึกษา ได้แก่ ศึกษาธิการอำเภอซึ่งปฏิบัติงานใน 2 ลักษณะคือ ปฏิบัติงานในลักษณะศูนย์ 3 ศูนย์ และปฏิบัติงานตามโครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ 3 งาน ภารกิจทั้ง 2 ลักษณะนี้ศึกษาธิการอำเภอปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอที่บริหารงานภารกิจงานบริหารโรงเรียน 6 งาน โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน 4) การบริหารงานในรูปคณะกรรมการ ส่วนใหญ่ศึกษาคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด อำเภอ และกลุ่มโรงเรียนตามลำดับ การบริหารงานตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการของคณะกรรมการทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว มีการบริหารงานตามภารกิจอยู่ในระดับปานกลาง 5) ภาวะผู้นำทางการศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำ แบบผู้นำและพฤติกรรมผู้นำ ข้อค้นพบด้านคุณลักษณะผู้นำพบว่าผู้นำควรมีคุณธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรู้ความสามารถในงาน มีความเป็นผู้นำ มีบุคลิกภาพที่ดี สำหรับแบบผู้นำที่ผู้บริหารและครูต้องการคือ ผู้นำแบบประชาธิปไตยมากที่สุด ส่วนพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารส่วนใหญ่มีพฤติกรรมมิติมุ่งงานและมุ่งสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง 6) ข้อค้นพบจากการนิเทศการศึกษาพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนระดับปานกลาง การปฏิบัติงานตามภารกิจของศึกษานิเทศอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ส่วนกิจกรรมการนิเทศที่ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศใช้มากคือการประชุม 7) การบริหารการศึกษาอื่น ๆ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหารกระบวนการนิเทศ และกระบวนการเรียนการสอน โดยผู้บริหารปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาในกระบวนการบริหารการเรียนการสอนอยู่ในระดับสูง ส่วนกระบวนการนิเทศอยู่ในระดับปานกลาง คำสำคัญ : การสังเคราะห์, วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, พื้นที่ภาคใต้ The objectives of this research are to analyze the general feature and to synthesize the finding of the master’s degree-theses in education administration from Thai universities written during 1985-1994 of which the location studied is the south of Thailand. The samples are 353 selected master’s degree-theses from 10 universities. The instrument for data collection is an inventory of features of the theses, then the data are analyzed statistically by a percentage. According to the synthesis of the findings, the research content can be divided into 7 categories: administrative process, school administration, administration by the tasks of the education office’s administrator, administration by committee, educational leadership, supervision, and other administrations. 1) As for an administrative process, it has been found the most studies investigate Gulick and Urwick’s POSDCoRB. This administrative Performance is mainly high. Considering the performance of every variable, no difference is found overall. 2) As for the school administration, it has been found the most studies investigate 6 tasks. These six tasks are moderately performed but highly expected. The administration perform school business administration more than other tasks. 3) As for the administration by the tasks of the education office’s administrator. The synthesis of the research findings shows the most of the District Education Officers perform moderately in two ways: (1) in the form of three-centers including information and planning center, service and coordination center, and follow-up and evaluation center, (2) in accordance with the structure of the education office’s administration that is divided into 3 sections-general administration, academic planning and evaluation, and educational activities. Mostly, the studies about administration by the tasks of the Chief of district Primary Education deal with 6 tasks: academic affairs, staff personnel administration, school business administration, student personnel administration, school building and facilities, and school-community relations. Overall, their performance in these six tasks are moderate. 4) As for the administration by committee, it has been found that most theses study about the Provincial Primary Education Commission, followed by the District Primary Education Commission and school clusters. Their performance are investigated according to the tasks specified by the Office of the National Primary Education Committee. Overall, the performances of theses three committees are moderate. 5) As for education leadership, it has been found that most theses investigate the characteristics, leadership styles, and behavior of the leaders. The investigation of the leader’s characteristics is mostly about his morality, human relations, personality, leadership, competence, while that of this leadership style is whether he is a autocratic, a democratic, or an laissez-faire leader. The administration and teacher prefer a democratic leader to other. As for the leader’s behavior, two dimensions are studied most-initiating structure and consideration structure. The administrators have a high level of both dimensions of the leader’s behavior. 6) As for supervision, it has been found that most theses study are internal supervision, followed by supervisory activities and performance of supervisors, respectively. All of them are performed moderately. The supervisory activity preferred most by school administrators is a meeting. 7) As for other administrations, it has been found that most master’s theses investigate the quality of education concerning 3 processes: administrative process, supervisory process, and instructional process. For quality development, the administrators perform highly in the administrative process and instructional process, but moderately in the supervisory process. Keyword : Synthesis, Master’s Degree-theses, Educational administration, Southern Thailand

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=107