คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นองค์การหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อการบริหารงานบุคคล โดยมีนโยบายด้วยการสร้างสิ่งจูงใจให้กับข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการสาขาขาดแคลนให้คงอยู่ในองค์การแห่งนี้อย่างยาวนาน และถาวร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการสาย ข, ค สาขาขาดแคลนที่มีต่อกลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจของคณะแพทยศาสตร์ รวมทั้งความต้องการคงอยู่ โอนย้าย ลาออกของข้าราชการ และศึกษาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อความต้องการคงอยู่ในองค์การแห่งนี้ กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ข้าราชการ ข, ค สาขาขาดแคลน จำนวน 302 ราย ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจและเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของข้าราชการต่อกลยุทธ์ที่คณะแพทยศาสตร์นำมาใช้ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางดี ได้แก่ พอใจค่าตอบแทนมากร้อยละ 55.7 และพอใจปานกลางร้อย 44.3 มีความก้าวหน้าในการทำงานมาก ร้อยละ 28.8 และก้าวหน้าปานกลางร้อยละ 71.7 มีสภาพการทำงานที่ดีร้อยละ 11.3 และอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 87.7 มีความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงานในเกณฑ์ดีร้อยละ 55.2 และในระดับปานกลางร้อยละ 44.3 พอใจในสวัสดิการมากร้อยละ 7.1 และพอใจในระดับปานกลางร้อยละ 82.1 2) ข้าราชการส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการคงอยู่ในองค์การมากถึงร้อยละ 64.15 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ต่อการคงอยู่ในองค์การพบว่าพบว่า ความก้าวหน้าและความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงานมีผลต่อการคงอยู่ในองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<.05
คำสำคัญ : ความต้องการ, การคงอยู่, ข้าราชการ
The Faculty of Medicine, Prince of Songkla University is an organization which sees the importance of personel management. In order to maintain its personal, particularly those in fields with insufficient candidates, the Facultys policy is to give them incentives.
The objectives of this research were to find out the attitudes of both academic and administrative supporting staff in fields with insufficient candidates towards the motivating strategies implemented by the Faculty of Medicine. The aim was to determine the factors affecting such desires.
In this survey, a questionnaire was administered to 302 academic and administrative supporting staff. The findings were as follow: 1) the overall attitude of the staff towards the Facultys motivating strategies was at a higher-than-average level. 55.7% and 44.3% respectively were very satisfied and moderately satisfied and moderately satisfied with remuneration; 28.8% were very satisfied with advancement while 71.7% were moderately satisfied; 11.3% were very satisfied and 87.7% were moderately satisfied with the working conditions; 55.2% were very satisfied and 44.3% were moderately satisfied with coworker/peer relationships; 7.1% were very satisfied and 82.1% were moderately satisfied with fringe benefits. 2) Most government officials (64.15%) still wanted to remain in the organization. 3) Advancement and coworker/peer relationships were the factors affecting the desire to remain in the organization, significant at P<.05.
Keywords: Desire, Government Officials, Remain
Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.