เชิงเชาว์, ., ศรีวิหะ, ., & แสงงาน, . (2004, September 14). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพเพื่อรองรับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในจังหวัดปัตตานี. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=104.

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพเพื่อรองรับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในจังหวัดปัตตานี

ชิดชนก เชิงเชาว์, ภาควิชาปนะเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศษสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ณรัณ ศรีวิหะ, ภาควิชาปนะเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศษสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิรุฬห์ แสงงาน, ศึกษาธิการอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกันคุณภาพเพื่อรองรับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในจังหวัดปัตตานี ซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านผลผลิต และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการพรรณนาเพื่ออธิบาย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี หัวหน้ากลุ่มพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษา ศึกษานิเทศน์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการโรงเรียนของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดปัตตานี ใช้วิธีการเก็บข้อมูล 4 วิธี คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพเพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษามากที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และปัจจัยเกี่ยวกับกระบวนการประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานการศึกษา รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านการนำเข้า ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยเกี่ยวกับผู้บริหารโรงเรียน ปัจจัยเกี่ยวกับบุคลากรของโรงเรียน ปัจจัยเกี่ยวกับนักเรียน และปัจจัยเกี่ยวกับสื่ออุปกรณ์การเรียน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุดคือปัจจัยด้านผลผลิต ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยเกี่ยวกับหลักฐานการปฏิบัติการหรือร่องรอยการทำงาน และปัจจัยเกี่ยวกับผลปฏิบัติงานที่เป็นผลมาจาการยอมรับนับถือระหว่างผู้ร่วมงานด้วยกันตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงบุคลกรของโรงเรียน สภาพการจัดการศึกษาไม่สอดคล้องกับธรรมนูญโรงเรียน โรงเรียน ระบบตรวจสอบ ระบบการประเมิณตนเอง ทักษะในการตรวจสอบและประเมินตนเอง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และความรู้ความเข้าใจแนวทางการประกันคุณภาพ สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยคือ โรงเรียนและชุมชนควรร่วมกันกำหนดเกณฑ์และตัวบ่งชี้เพิ่มเติมจาก 7 ปัจจัยและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนควรให้โรงเรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาผลและยอมรับผลการรับรองมาตรฐานการศึกษา ก่อนที่จะประกาศผลอย่างเป็นทางการต่อไป คำสำคัญ : การประกันคุณภาพการศึกษา, การประเมินคุณภาพ, การรับรองมารฐานการศึกษา The objective of this research were to describe factors influencing the quality assurance for accreditation of private general education schools, namely input, process and output; and to indicate obstructing factors for the operation of quality assurance for accreditation of this type of schools in Pattani. The study was a qualitative research using explanatory description. The subjects interviewed were Pattani Provincial Education Superintendent, Chief of the Educational Quality Development Group, supervisors from the Office of the Private Education Commission, school administrators, teachers,and school councils of the private general education schools in Pattani. Four major methods of data collection used were an in-depth interview, a participant observation, a facus group discussion and a documentary analysis. The findings indicated that the most effective factors on the quality assurance for accreditation were : firstly, the process factors (instruction, management and the quality assurance process for accreditation); secondly, the input factors (school administrators, school personnel, students and instructional materials); and lastly, the output factor (evidence of school performance and main results in working respectively). The results also indicated that the factors obstructing the quality assurance operation were staff change, management inconsistent with the school charter, audit system, seft-assessment system, seft study and assessment skills, participation in the operation and understanding of the quality assurance process. It was suggested that schools and communities work together to specify additional criteria and indicators besides these seven factors, and the Office of the Private Education Commission allow the schools to participate in assessing and considering accreditation outcomes before formal announcement. Keywords : Educational Accreditation, Quality Assurance, Quality Evaluation

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=104