Pichet Saengthong, . (2013, July 12). นักวิชาการในสถานการณ์ความรุนแรง. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 19(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=1030.

นักวิชาการในสถานการณ์ความรุนแรง

พิเชฐ แสงทอง
Pichet Saengthong,

Abstract

นักวิชาการในสถานการณ์ความรุนแรง เหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในห้วงเวลาหลายปี มานี้ ก่อให้เกิดคำถามถึงบทบาทของหลายๆ ฝ่าย หลายๆ สถาบันที่อยู่ ในพื้นที่ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่ในการ ประสิทธิประสาทความรูแ้ กสั่งคม มักจะเจอกับคำถามมากเปน็ พิเศษ เพราะ ปญั หาความรุนแรงที่เกิดขึ้นอยูนี่้สว่ นหนึ่งมีรากเหงา้ มาจากองคค์ วามรูท้ าง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ขาดตกบกพร่อง ตื้นตันไปด้วยอารมณ์ และ ประวัติศาสตร์แห่งชาติที่ถูกสร้างให้คับแคบ ไม่เปิดรับความหลากหลายทาง ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยจึงถูกคาดหวังให้กระทำตัวเป็นองคาพยพที่กล้าหาญใน การสร้างและให้ความรู้ที่รอบด้าน เหมาะสม และไม่คับแคบ อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงก็คือว่า หน่วยงาน หรือบุคลากรใน มหาวิทยาลัยกลับไม่สามารถกระทำอย่างนี้ได้เท่าที่ควร เนื่องจากความ รุนแรงของสถานการณ์ ความไร้เหตุไร้ผล ตลอดจนความขาดพร่องใน หลักการของสงคราม ได้ทำให้ทุกๆ ฝ่ายต่างไม่กล้าที่จะกระทำการใดๆ ที่ เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนี้โดยตรงและเป็นทางการ นอกจากจะพยายาม เคลื่อนไหวในลักษณะของงานกิจกรรมประชาสังคม หรืออาจจะมีการวิจัย ด้านผลกระทบและสถิติของเหตุการณ์ การเคลื่อนไหวลักษณะนี้สร้างคุณูปการให้แก่การเติบโตทางสำนึกด้าน สิทธิและอัตลักษณ์ของผู้คนในจังหวัดชายแดนไม่น้อย โดยเฉพาะสิทธิและ อัตลักษณ์ที่จะ “เป็นไทย” หรือไม่และเมื่อใดมหาวิทยาลัยมีข้อมูลสถานการณ์ และปรากฏการณ์ป้อนให้แก่สังคมไทย (ซึ่งเป็นสังคมที่ขาดแคลนสถิติ และการเก็บรวบรวม) อย่างสมํ่าเสมอและแม่นยำพอสมควร แต่สิ่งที่ขาดหาย ไปก็คือองค์ความรู้ในระดับลึกและหลากหลายที่สามารถปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ความรุนแรงฝ่ายต่างๆ ทุกฝ่าย เรามีข้อมูลเหตุการณ์ ข้อมูลผลกระทบ มีความตื่นตัวตื่นสำนึกทาง อัตลักษณ์และชาติพันธ์ุ สำนึกทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของผู้คน พลเมือง แต่ความตื่นตัวดังกล่าวนี้บางครั้งก็ถูกแปรไปเป็นอื่น เพราะข้อมูล และองค์ความรู้ โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์นั้นยังคงเดิม เราพยายามหลีกหนีจากความเป็นมาอันคับแคบของประวัติศาสตร์ แห่งชาติ แต่การณ์ก็สวิงกลับไปสู่ความเป็นมาอันฝืดหนืดปราศจากพลวัต ของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นี่คือปัญหาและความอ่อนไหวของการเคลื่อนไหวของฝ่ายวิชาการ หรือ อาจเรียกว่าฝ่ายประชาสังคม ที่ดำเนินงานอยู่ในท้องถิ่น เป็นปัญหาที่เกิด มาจากเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งก็คือ สถานการณ์ความรุนแรงระลอกนี้มี ระดับความชุลมุนชุลเกสูงมาก ความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของคนในพื้นที่มีไม่มากนัก หน้าที่ทางวิชาการกับการปกป้องตัวเองจึง สำคัญพอๆ กัน ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกถ้าเราจะเห็นนักวิชาการในสถาบัน การศึกษาออกมาดำเนินกิจกรรมในลักษณะของเอ็นจีโอ การเคลื่อนไหวในลักษณะดังกล่าว มุ่งสร้างสำนึกทางสังคมและ การเมืองของผู้คน ให้พลเมืองคำนึงถึงสิทธิ (ทั้งในฐานะพลเมืองและ ความเป็นมนุษย์) ของตัวเอง พร้อมๆ กับรู้จักมองโลกด้วยสายตาของ ผู้ได้รับผลกระทบในฐานะพลเมือง ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ได้รับ ผลกระทบมักจะพุง่ เปา้ ไปที่การกระทำของรัฐ เพราะภาพของรัฐนั้นถือเปน็ “เป้าใหญ่” ด้วยเหตุนี้ เสียงเรียกร้องจึงมักจะถูกกรอกเข้าไปสู่ปลายกรวยที่ เป็นรัฐมากกว่าฝ่ายอื่นใด (แม้แต่ฝ่ายเอ็นจีโอเอง) แต่ความเป็นจริงก็คือ แม้เราจะเห็นว่ารัฐบาลเป็นใคร เป็นคนจาก พรรคไหน นายกรัฐมนตรีชื่ออะไร รองนายกรัฐมนตรีผูรั้บผิดชอบเรื่องนั่นนี่ เป็นใคร แต่เอาเข้าจริงแล้ว คำว่า “รัฐ” กลับไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจนและเปลี่ยน ไปได้เรื่อยๆ เปล่งเสียงไปไม่รู้คนรับฟังจะเป็นใคร ใครควรจะเอาไปดำเนิน การตามเสียงที่เปล่งเรียกร้องนั้น การเรียกร้องเอากับรัฐจึงเรียกร้องไปได้เรื่อยๆ เพราะมันไม่ผูกมัดกับ คนของรัฐคนใดคนหนึ่ง แต่มันผูกมัดกับความเป็นนามธรรม การวิพากษ์ วิจารณ์รัฐจึงมักจะไม่ค่อยพลาดเป้า สามารถถูกได้ทุกเรื่อง (ดังสังเกตได้จาก เอ็นจีโอ และวรรณกรรมเพื่อชีวิตในยุคทศวรรษ 2520-2540 มักจะวิพากษ์รัฐ พวกเขาวิพากษ์ได้ทุกเรื่องและมักจะถูกหมด) แม้ว่าสุดท้ายแล้วมันมักจะ ไม่ค่อยได้เรื่องก็ตาม เว้นไว้แต่บางครั้งเมื่อวิพากษ์วิจารณ์มากเข้าคนของ รัฐคนใดคนหนึ่งอาจจะได้ยิน เอาข้อวิพากษ์วิจารณ์ไปดำเนินการ ก็ถือว่า เป็นความสำเร็จ หรือบางทีวิพากษ์วิจารณ์แล้วเคลื่อนไหวเข้าไปกดดันในสิ่ง ที่เป็นรูปธรรมของรัฐ เช่น ถนน ตึกกระทรวง ทำเนียบ ฯลฯ เมื่อนั้นเรื่องก็ จะเกิดมีเจ้าภาพขึ้นมา อย่างไรก็ตาม การดำเนินการรวมพลกันเรียกร้องเช่นนี้ต่อประเด็น สถานการณค์ วามขัดแยง้ ในชายแดนภาคใตนั้นมีนอ้ ยมาก เพราะผูเ้คลื่อนไหว ส่วนหนึ่งเห็นว่า ความขัดแย้งในชายแดนภาคใต้นั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่ อยูๆ่ ก็เกิดขึ้น แตเ่ปน็ ผลพวง เปน็ ผลไม ้หรือความสุกงอมของประวัติศาสตร์ แห่งการกดขี่ในอดีต การรวมคนขึ้นไปกดดันรัฐบาลจึงไม่มีใครทำ ทำไปก็ ไม่รู้จะไปเปลี่ยนอะไรได้ฉับพลัน เนื่องจากเรามั่นว่า ปัญหานี้เป็นเรื่องของ อคติที่ติดพ่วงมากับการสถาปนาความเป็นศูนย์กลางของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แม้ว่าเอาเข้าจริงแล้ว อคติลักษณะนี้จะเกิดขึ้นกับ รัฐสมัยใหม่ส่วนใหญ่ที่เติบโตขึ้นเป็นรัฐชาติรวมศูนย์ก็ตาม เมื่อเริ่มโจทย์เช่นนี้ ประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่จึงถูกนำมาสร้าง คำอธิบายต่างๆ นานามากมาย ต่อเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม วาทกรรมว่าด้วย “ประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่” ที่กลายเป็น “ประวัติศาสตร์บาดแผล” มักจะ ถูกนำมาสร้างความกระจ่าง แม้ว่าในระยะหลังๆ จะมีหลายฝ่ายพยายามสร้างคำอธิบายและเสนอ ข้อเรียกร้องใหม่ ให้ “ข้ามให้พ้นประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่” โดยพยายาม นำเสนอแง่มุมทางประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมและความคิดขึ้นมาเพื่อ นำเสนอให้เห็นถึงข้อมูลและมุมมองในประวัติศาสตร์ปัตตานีที่กว้างและ หลากหลายมากขึ้นแต่สุดท้ายแล้ว แม้ประวัติศาสตร์สังคมจะเต็มไปด้วยสีสัน และน่าตื่นตาตื่นใจ เช่น โรงภาพยนตร์ในปัตตานี ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก ที่ปัตตานี ประวัติศาสตร์ชุมชนกับเหมืองโต๊ะโมะ เพลงดิเกร์มิวสิคกับปัตตานี ยุคสมัยใหม่ฯลฯ แต่ประวัติศาสตร์ทั้งหลายนี้ก็ไม่เร้าอารมณ์ความรู้สึก เท่ากับประวัติศาสตร์บาดแผล นี่คือความน่าเป็นห่วงว่า สิ่งที่เราทำมาทั้งหมด ไม่เพียงแต่จะไม่สูญ เปล่าเท่านั้น หากแต่จะยังโหมเร้าให้ทุกรอยมีริ้วรอยบาดแผลที่ไม่มีวันรักษา เยียวยาหายอีกด้วย

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=1030