ไอยะรา, ., & Aiyara, <. (2013, June 1). รัฐ ตลาด และโลกาภิวัตน์: ประวัติศาสตร์อย่างย่อของการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลก
State, Market and Globalization: A Brief History of Global Economic Order. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 19(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=1018.

รัฐ ตลาด และโลกาภิวัตน์: ประวัติศาสตร์อย่างย่อของการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลก
State, Market and Globalization: A Brief History of Global Economic Order

ตฤณ ไอยะรา, นักวิชาการอิสระ

Trin Aiyara,

Abstract

The emergence of economic globalization between the late twentieth century and the early twenty-first century has been the result of global economic order, which is based on Neoliberalism, and the transportation and information technology development. This article confirms the aforementioned argument through the analysis of global economic order history and the expansion/reduction of economic activities under international political economy theory, which emphasizes on the relation and distance between state and market, the fundamental logic of which are completely contradictory. This article illustrates the difference of each historical period by describing the rise and fall of the theories, which are the foundation of economic sphere administration, as well as the practical implementation of the theories and the technology development related to time-space compression phenomenon. The article particularly focuses on Neoliberalism regime, the ideas and policy of which are to promote the roles of markets and private sectors as well as to limit the economic intervention of the government. Additionally, the article also elaborates the transportation technology development and information technology revolution during the late twentieth century as well as asks a question on the righteousness of global economic order policy based on Neoliberalism at the end.

Keywords: Globalization, Global Economic Order, Neoliberalism, Keynesian, Technology, Policy บทคัดย่อ
การขยายตัวของปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 เป็นผลมาจากการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจโลกที่วางอยู่บนรากฐานแนวคิดเสรีนิยมใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยีด้านคมนาคมและสารสนเทศ บทความนี้ยืนยันข้อสรุปดังกล่าวข้างต้น ผ่านการวิเคราะห์ความเกี่ยวเนื่องของประวัติศาสตร์การจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกและการขยาย/หดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้กรอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นความสนใจไปที่การศึกษาความสัมพันธ์และระยะห่างระหว่างรัฐและตลาด ซึ่งมีตรรกะขั้นพื้นฐานที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง บทความได้แสดงความแตกต่างในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ ผ่านการบรรยายถึงการผงาดและเสื่อมถอยของทฤษฎีที่เป็นรากฐานทางความคิดของการจัดการปริมณฑลทางเศรษฐกิจ และภาคปฏิบัติการทางนโยบายของทฤษฎีเหล่านั้น รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเร่งเร้าสภาวะการกระชับแน่นระหว่างสถานที่และเวลา โดยบทความได้มุ่งเน้นไปที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ ทั้งในแง่มุมทางความคิดและการนำไปผลักดันนโยบาย เพื่อส่งเสริมบทบาทของตลาดและภาคเอกชน ควบคู่ไปกับการจำกัดบทบาทของภาครัฐในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาเทคโนโลยีคมนาคมและการปฏิวัติสารสนเทศในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรมของนโยบายการจัดการระบบเศรษฐกิจโลกที่มีแนวคิดเสรีนิยมใหม่เป็นรากฐานทางอุดมการณ์ไว้ในตอนท้ายอีกด้วย

คำสำคัญ: โลกาภิวัตน์, ระเบียบเศรษฐกิจโลก, เสรีนิยมใหม่, เคนส์เชียน, เทคโนโลยี, นโยบาย

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=1018