Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 7, No. 3 (2001) open journal systems 


การพัฒนาตนเองด้านวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

สิริพันธ์ เดชพลกรัง, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย


Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนา ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาตนเองด้านวิชาการของคณาจารย์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือ คณาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และวิธีของ Scheffe (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า (1) คณาจารย์ค้นคว้า/เข้าถึงข้อมูลสารนิเทศจากการอ่านหนังสือในสาขาวิชา วารสาร โทรทัศน์ และวีดิทัศน์ ตามลำดับ (2) อายุ ประสบการณ์ในการสอนและสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาที่มีผลต่อวิธีการและช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลสารนิเทศ (3) คณาจารย์ส่วนใหญ่ประยุกต์ความรู้ และสารนิเทศที่สืบค้นได้ในการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ (4) คณาจารย์ส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการบ้างเป็นบางครั้ง และ (5) ความจำกัดของทุนศึกษาดูงานในต่างประเทศ ข้อจำกัดเรื่องเวลาและแหล่งสารนิเทศเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาตนเองของคณาจารย์ คำสำคัญ : การพัฒนาตนเองด้านวิชาการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, อาจารย์ The research objectives were to examine the current academic enhancement situation, problems and obstacles that affect the academic enhancement of lecturers at Prince of Songkla University, pattani campus. The findings were meant to be used as a guideline for personnel development. Questionnaires were administered to 148 lecturers. Data were analyzed using percentages, arithmetic mean, standard deviation, F-test and Scheffe’s method. The findings were as follows; (1) In reading or searching information sources, it was found that most of the lecturers used books, journals, television respectively while the videos were the least used. (2) When comparing the difference of the lecturer’s age, statistically significant difference in searching information from radio and television was observed at.05 equally. When comparing the teaching experience, statistically significant difference in searching information from radio and television was observed at .01 and .05 respectively. There was a statistically significant difference in searching information from radio at .01 among the lecturer from different academic background. (3) Most lectures applied the knowledge for writing their academic publications more than other purposes. (4) Concerning the academic activities, most lecturers occasionally participated in academic activities. (5) Main limitations of their academic enhancement were the lack of oversea academic visit, time constraints and limited information sources. Keywords : academic enhancement, lecturer, Prince of Songkla University, Pattani Campus


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548