Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 8, No. 1 (2002) open journal systems 


ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านศิลปะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาช้างเทคนิคสถาปัตยกรรม

ธีระยุทธ รัชชะ, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านศิลปะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม ปีการศึกษา 2543 สังกัดวิทยาลัยเทคนิคกรมอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 188 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามกับแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยการหาค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.14 ผลการวิจัยสรุปว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านศิลปะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางบ้าน ปัจจัยทางสถานศึกษา และปัจจัยคุณลักษณะผู้เรียน และพบว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ความตรงของโมเดลพิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ เท่ากับ 31.43 (p = 0.44) มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.966 ดัชนีความสอดคล้องที่ปรับค่า (AGFI) เท่ากับ 0.92 2. ความสัมพันธ์ระหว่างโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านศิลปะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม สามารถอธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 88 (R2 = 0.88) ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านศิลปะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ปัจจัยทางสถานศึกษา และปัจจัยคุณลักษณะของผู้เรียน คำสำคัญ : ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านศิลปะ, โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น The purposes of this study were to develop the linear structural relationship model between causal factors and the art learning achievement and to study the relationship between causal factors and art achievement of the second year Architectural Technology Vocational Diploma students, The subject of this study was 188 students Stratified Random Sampled from the second year Architectural Technology Vocational Diploma. Data were collected by using a questionnaire and a test. Basic statistics were used to analyze the background of the sample. The LISREL program version 8.14 was used to test the consisting of the development causal relationship model and the empirical data. The results were as follow 1. The linear structural relationship model was consisted with 3 factors : home environment factor, school factor and student characteristics factor. The development model was consisted with empirical data with chi-square = 31.43 (Prob. = 0.44) GFI = 0.966 and AGFI = 0.92 2. The relationship between the causal factors and art achievement accounted for 88.00% of the variance that had significant effects on art achievement were school factor and student characteristics factor. Keywords : art achievement, causal factors, linear structural relationship mode.


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548