Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 17, No. 4 (2011) open journal systems 


พฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคสารเสพติดที่มีอันตรายต่อการตายของประชากรชาวชนบทไทย
Risk Behavior from Consumption of Addictive Substances being a Hazard of Death for the Thai Rural Population


นันทวัน อินทชาติ, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
โยธิน แสวงดี, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Nantawan Intachat, Graduate School of Public Administration, Burapha University
Yothin Sawangdee, Institute for Population and Social Research, Mahidol University


Abstract
The objective of this research was to study behavioral factors on consumption of addictive substances that would affect the probability of death. This is a longitudinal retrospective panel study. The samples were the population in Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province during 2002-2006 .The sampling frame was the death report of the Ministry of Public Health, based on a two-stage stratified sampling which divided into sub-district and village. The sample size was 207 “death” and “survive” 674. Tools used were interviews and verbal autopsies, with the Cox’s Proportion Hazard Model being used to analyze factors that would affect the probability of death. It was found that age has a positive affect on death. Males are 1.7 times more at risk of death than females. Married, divorced and widowed are 1.5 times more at risk of death than single. Alcoholic drinkers are 2.4 times more at risk of death than non drinkers. Areca nut chewers are 1.5 times more at risk of death than non chewers. All units should seriously contribute in imparting accurate information on the effects of addictive substance consumption on longevity.

Keywords: consumption of addictive substances, probability of death, risk behavior,

บทคัดย่อ
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคสารเสพติดที่มีอันตรายต่อการตายของประชากรชาวชนบทไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคสารเสพติดที่มีผลต่อโอกาสความน่าจะเป็นของการตาย ซึ่งเป็นการวิจัยระยะยาว (longitudinal) ด้วยวิธีการศึกษาย้อนหลังจากประชากรกลุ่มเดียว (retrospective panel study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ.2545-2549 โดย ใช้กรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) จากรายงานการตายของกระทรวงสาธารณสุข สุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นตอน (two-stage stratified sampling) แบ่งเป็นระดับตำบลและหมู่บ้าน ได้จำนวนตัวอย่างผู้ที่เสียชีวิตจำนวน 207 คน และที่มีชีวิตจำนวน 674 คน เครื่องมือ คือแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบสวนสาเหตุการตายโดยการสัมภาษณ์ (verbal autopsy) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสความน่าจะเป็นของการตายด้วย Cox’s Proportion Hazard Model ผลการศึกษาพบว่าอายุมีผลทางบวกต่อการตาย เพศชายมีความเสี่ยงต่อการตายมากกว่าเพศหญิง 1.7 เท่า คนที่แต่งงาน หย่าร้าง และหม้าย เสี่ยงต่อการตายมากกว่าคนโสด 1.5 เท่า คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประจำ มีความเสี่ยงที่จะตายมากกว่าคนที่ไม่ดื่ม 2.4 เท่า คนที่กินหมาก มีความเสี่ยงต่อการตายมากกว่าคนที่ไม่ กิน 1.5 เท่า ดังนั้น ทุกหน่วยงานควรร่วมรับผิดชอบในการให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการบริโภคสารเสพติดที่มีผล ต่อความยืนยาวของชีวิตอย่างจริงจัง

คำสำคัญ: การบริโภคสารเสพติด, พฤติกรรมเสี่ยง, โอกาสความน่าจะเป็นของการตาย


Full Text: Not available





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548