Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 8, No. 1 (2002) open journal systems 


กลยุทธ์การตลาดสำหรับสินค้าชุมชนกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์, สำนักวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับกลุ่มบ้านสมุนพรคีรีวง โดยศึกษาศักยภาพของผู้ประกอบลการในด้านการตลาด การผลิต การจัดการ การเงินและการบัญชี ลักษณะของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวงมีศักยภาพในการประกอบธุรกิจชุมชนเนื่องจาก 1) ผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น 2) ยึดแนวคิดด้านการตลาดเพื่อมุ่งสนองความพึงพอใจของลูกค้า 3) ผลิตสินค้าตามหลักการ “หนึ่งบ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์” เพื่อตัดปัญหาการแข่งขันกันเอง และ 4) ใช้เงินลงทุนจากเงินออมหรือเงินกู้ยืมจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคีรีวง ซึ่งเป็นเงินทุนภายในชุมชนจึงมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคือปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ราคาและการจัดจำหน่าย การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดในภาคใต้และภายในเวลา 5 ปี จะรักษาระดับการเติบโตของยอมขายเฉลี่ยปีละ 5% ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือ ลูกค้าที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ที่ใส่ใจกับสุขภาพของตนเองและนิยมใช้สินค้าที่ผลิตจากสมุนไพรหรือวัตถุดิบจากธรรมชาติ กลยุทธ์หลักที่ควรดำเนินการคือ การประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรับรู้และเข้าใจสรรพคุณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่านี้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ คำสำคัญ : กลยุทธ์การตลาด, การตัดสินใจซื้อ, คีรีวง, ธุรกิจชุมชน, สมุนไพร, หนึ่งบ้านหนึ่งตำบล This research aims to develop marketing strategies for Khiriwong Herbal Village Group. The Group’s potentials with respect to marketing, production, management, and finance and accounting; target customers’ demographics, and factors affecting customers’ buying decision are investigated. Khiriwong Herbal Village Group is a potential local business group because 1) its raw materials for production are locally available, 2) to ensure customers’ satisfaction, the marketing-oriented approach is observed, 3) to avoid local competition, the ‘one Home one Product’ policy is enforced, and 4) investments are drawn from local funds or loaned from Khiriwong Savings Group with low interest. The majority of target customers are females. The factors affecting customers’ buying decision are the product, the price and the product placing Marketing strategies are set to increase sales volume by 20% within the first year of business launching in the south, and to maintain a yearly 5% sales increase within the next five years. Target customers are those who are residing tin the South, health-conscious, and prefer herbal or natural products. The main strategy to be carried out is to extensively promote the products so that more customers are aware of their properties and qualities. Keywords : buying decision, herb, Khiriwong, local bussiness, marketing strategy, One Home One Product


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548