Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 17, No. 3 (2011) open journal systems 


ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อกลุ่มชาติพันธุ์: กรณีเปรียบเทียบมอแกนกับซาไก
Impacts of Tourism to Ethnic Groups: Comparison between Morgan and Sakai


รตพร ปัทมเจริญ, ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Rataporn Patamajoroen, Department of Social Sciences, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince


Abstract
Tourism can be an ideal context for studying of political economy, social change and development, natural resource management, and cultural identity and expression. In the territory of anthropology, it is another dimension of cultural view which we may discern some form of tourism at all level of human culture such as individual, ethnic group, country and global. The phenomenon of tourism produces a cross-cultural (or sub-cultural) encounter which involves face to face encounters between people of different cultural backgrounds. These encounters provide a key to an anthropological understanding of tourism. Accordingly, the impacts of tourism appear on the engagement of the host in tourism and his encounter with the guest. Inquiries on the impacts of tourism have generally focused on socio-economic, cultural and environmental changes that tourism has caused in host destinations. In this article, two cases of ethnic groups, Morgan and Sakai are illustrated to represent the impacts of tourism when it takes place in their residence area.

Keywords: acculturation, ethnic tourism, recreational tourism, tourism

บทคัดย่อ
การท่องเที่ยวเป็นปรากฏการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งในประเด็นทางเศรษฐกิจ การเมืองการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและการพัฒนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และเอกลักษณ์กับการแสดงออกทางวัฒนธรรม ในขอบข่ายทางมานุษยวิทยา การท่องเที่ยวเป็นอีกมิติหนึ่งของมุมมองทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า การท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในทุกระดับ ทั้งระดับปัจเจกบุคคล กลุ่มชาติพันธุ์ ประเทศและระดับ โลก ปรากฏการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวนำมาซึ่งการพบกันระหว่างวัฒนธรรมย่อย (subculture) ต่างๆ ซึ่งในที่นี้ หมายถึงการปฏิสังสรรค์กันระหว่างผู้คนที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน การปฏิสังสรรค์ที่เกิดขึ้นนี้เป็น ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เราสามารถทำความเข้าใจได้ในแง่มุมทางมานุษยวิทยา โดยเฉพาะผลกระทบของ การท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นกับคนท้องถิ่นหรือเจ้าบ้าน (host) อันเป็นผลมาจากการที่พวกเขามีการพบปะกับ นักท่องเที่ยวซึ่งเปรียบเสมือนแขกผู้มาเยือน (guest) บทความนี้เป็นการนำเสนอภาพปรากฏการณ์ผลกระทบ ของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มได้แก่ มอแกนและซาไก ที่แสดงให้เห็นผลกระทบของ การท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ผลกระทบที่มีลักษณะร่วมกันคือทั้งสองกลุ่มรับเอาวัฒนธรรม ของผู้มาเยือน เช่น การแต่งกาย ภาษา และวัฒนธรรมทางวัตถุอื่นๆ สำหรับส่วนที่แตกต่างกันคือ กลุ่มมอแกน จะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อความบันเทิง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะทางด้านอาชีพ ส่วนกลุ่มซาไก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าและคงเอกลักษณ์เดิมไว้จะสามารถสนอง ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวได้

คำสำคัญ: การติดต่อทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์, การท่องเที่ยวเพื่อความบันเทิง


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548