Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 15, No. 3 (2009) open journal systems 


อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์: มุมมองของมนุษยศาสตร์
Emotion, Feeling, Experience: The Humanities’ Viewpoint


เจตนา นาควัชระ


Abstract
The author discusses the main thesis of the paper by analyzing a series of concrete examples. At the popular level, emotion is often viewed in a negative way as uncontrollable desire. But most artists, thinkers, philosophers and scholars believe that if properly directed, emotion can be constructive, as in the case of its connection with religious faith. Thai people understood very well the multiplicity of emotions, as reflected in the Thai word “chai”. Poets and artists are of the opinion that emotion can serve as an impetus to creativity, which in certain cases can reach up to transcendence. Be that as it may, Thai as well as foreign artists and thinkers agree that emotion must be channelled in a positive direction, such as being tempered by reason. The author draws attention to what he calls “an aesthetics of reticence”. The humanities put great emphasis on the equilibrium between emotion and reason and continue to believe in the creative urge in man. As for other disciplines, research in neuroscience, for example, poses a challenge to the humanities by hypothesizing that mental frailty resulting in unethical behaviors could be the consequence of a physical ailment that could be treated medically. Though no conclusive evidence is yet in sight, such challenges do keep the humanities awake to all kinds of discoveries and hypotheses.

Keywords: aesthetics, emotion, humanities, neuroscience, reason

บทคัดย่อ
ผู้เขียนอภิปรายปัญหาด้วยการวิเคราะห์ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ในระดับของชาวบ้าน อารมณ์มักถูกมองใน ทางลบ จนถึงขั้นว่าเป็นกิเลสตัณหา แต่ศิลปิน นักคิด นักปราชญ์ และนักวิชาการส่วนใหญ่มองว่า การใช้อารมณ์ ให้ถูกทางย่อมเป็นคุณ ดังเช่น ในแง่ของการปลูกศรัทธาที่มีต่อศาสนา คนไทยเข้าใจความหลากหลายของอารมณ์ ได้อย่างลึกซึ้งดังจะเห็นได้จากการใช้คำว่า “ใจ” กวีและศิลปินในสาขาต่างๆ ถือว่าอารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการ สร้างสรรค์ ซึ่งพัฒนาได้ไกลจนถึงขั้นสัมผัสกับอุตรภาพ ถึงอย่างไรก็ดี นักคิดและศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศเห็น พ้องต้องกันว่า จำเป็นจะต้องมีการกำกับอารมณ์ให้เป็นไปในทิศทางที่เป็นคุณ ซึ่งส่วนหนึ่งคือการใช้เหตุผล ในทาง ศิลปะจึงเกิดสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า "สุนทรียศาสตร์แห่งการสงวนอารมณ์" ขึ้น มนุษยศาสตร์ให้ความสำคัญต่อการสร้าง ความสมดุลระหว่างอารมณ์กับเหตุผล โดยที่ยังเชื่อในสัญชาตญาณใฝ่ดีของมนุษย์ สำหรับศาสตร์อื่นๆ นั้น การค้นคว้า ใหม่ๆ ของศาสตร์บางแขนง เช่น ประสาทวิทยาศาสตร์ กำลังท้าทายมนุษยศาสตร์ ด้วยการอ้างว่าความอ่อนแอทาง จิตใจ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางจริยธรรมนั้น อาจถูกกำหนดด้วยพยาธิสภาพ ซึ่งอาจจะบำบัดได้ด้วยเวชศาสตร์ การท้าทายที่กล่าวมานี้ยังไม่นำไปสู่ข้อยุติใดๆ แต่ก็ช่วยปลุกให้มนุษยศาสตร์ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

คำสำคัญ: ประสาทวิทยาศาสตร์, มนุษยศาสตร์, สุนทรียศาสตร์, เหตุผล, อารมณ์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548