Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 9, No. 2 (2003) open journal systems 


ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว

ยุพินพรรณ ศิริวัธนนุกูล, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อภินันท์ กำนัลรัตน์, ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ยุทธนา ศิริวัธนนุกูล, ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ก้องกษิต สุวรรณวิหค, ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 22 จังหวัดสุราษฎร์ธานี


Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ จิตวิทยา กายภาพ และชีวภาพ ที่มีผลต่อการยอมรับการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว และความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวในด้านความคิดเห็นกับการยอมรับในระดับการนำไปปฏิบัติ รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขในการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากเกษตรกรที่จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ฤดูนาปรัง ปี พ.ศ.2540 อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จำนวน 118 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวแปรที่มีผลต่อการยอมรับการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวมี 5 ตัวแปร คือ ผลผลิต ทัศนคติที่มีเจ้าหน้าที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืช แรงจูงใจในการตัดสินใจจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว ภูมิอากาศ และโรค แมลง วัชพืช สัตว์ ศัตรูพืช (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวในด้านความคิดเห็นกับการยอมรับในระดับการนำไปปฏิบัติ ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การเตรียมดิน การใช้เมล็ดพันธุ์ การตาก และการเก็บรักษาเพื่อรอการซื้อคืน แต่การเว้นระยะระหว่างแปลงพันธุ์อื่นมีความสัมพันธุ์ทางลบ (3) เกษตรกรมีปัญหาในการตากเพื่อลดความชื้นผลผลิต ดังนั้นศูนย์ขยายพันธุ์ร่วมกับเกษตรกรควรรีบหาเมล็ดข้าวจากแปลงขยายพันธุ์มาอบลดความชื่นในโรงงาน โดยเกษตรกรจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการอบแห้ง และรัฐควรจัดตั้งสถานีย่อยในพื้นที่และให้การประกวดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตได้

คำสำคัญ : เกษตรกร, การจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว, การยอมรับ, ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ

Abstract
The objectives of this research were to study socio-economic factors, physical factors and biological factors which influence the farmers’ adoption of rice seed multiplication, and the correlation between symbolic adoption and practical adoption, as well as related problems and suggestions. The proportion stratified random sampling method was used to get 118 farmers who produced Chainat-l rice for seed research multiplication in Amphoe Ranot, Songkhla Province during the dry season in 1997. statistical procedures used in analizing the data included percentage, means, standard deviation, correlation coefficient and multiple regression. The study revealed that (1) the factors influencing the adoption of rice seed multiplication were five factors: rice yield per rai, attitude towards the field inspector, motivation prior to rice seed multiplication, climate and disease-insects pests. (2) the correlation between symbolic adoption and practical adoption on technology in rice seed multiplication revealed that four technologies showed statistically positive correlation such as land preparation, seed variety selection, seed drying and seed storage prior to buying from seed centre, but one factor of this technical adoption showed a statistically significant negative correlation was distance between rice seed multiplication fields and others. (3) The farmers had difficulty to reduce seed moisture content so that the rice seed centre should cooperate with farmers to provide rice seeds from their rice fields to reduce seed moisture content at the rice station where farmers pay their own gasoline during drying period and the government should build seed stations in the villages and stimulate competition among them.

Keywords : adoption, factors affecting adoption, farmers, rice seed multiplication


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548