Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 15, No. 1 (2009) open journal systems 


ความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชนบท: กรณีศึกษาจังหวัดพังงา
Needs for Lifelong Learning of People in Rural Areas: A Case Study of Changwat Phang-nga


เดชา หวังมี, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปราณี ทองคำ, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มารุต ดำชะอม

Decha Wangmee, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University
Pranee Thongkum, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University
Marut Damcha-om, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University


Abstract
This research aimed to study the levels of needs for lifelong learning of people in rural areas in Changwat Phang-nga; the relationship between the people’s needs for lifelong learning and sociological, psychological, and economic factors; and problems and suggestions concerning lifelong learning. The samples were 399 inhabitants of the service areas of the sub-district administrative organizations in Changwat Phang-nga, ranging between 25 – 60 years old. They were chosen through multi stage random sampling. A questionnaire and focus - group discussions were used in data collecting. Percentage, arithmetic mean, standard deviation, Pearson product moment correlation, and chi-Square were used in data analysis.The findings were as follows: 1)People in rural areas in Changwat Phang-nga expressed their needs for lifelong learning from moderate to high levels. The aspects they needed, in descending order, were sanitation and family life, good citizenship, self-fulfillment, occupation, and general education. 2) Sex, age, educational level, occupation, incomes, attitudes towards education, and future orientation of people were related to their needs for lifelong learning while social roles were not. 3) Suggestions of the people concerning lifelong learning were that involved organizations ought to provide learning activities, learning resources, and diverse learning modes appropriate for communities’ contexts as well as to emphasize the use of learning resources in communities and to promote moral and ethical learning.

Keywords: adult learning, community development, lifelong learning

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนใน ชนบทจังหวัดพังงา และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมวิทยา จิตวิทยาและเศรษฐกิจกับความต้องการในการ เรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชน อายุระหว่าง 25-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตบริการ ขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพังงา จำนวน 399 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนในชนบทจังหวัด พังงามีความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับปานกลางถึงมาก โดยมีความต้องการในการเรียนรู้ ด้านสุขภาพ อนามัยและการใช้ชีวิตในครอบครัวสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเป็นพลเมืองดี ด้านการมีชีวิตที่สมบูรณ์ ด้านอาชีพ และด้านการศึกษาสายสามัญตามลำดับ 2) เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ เจตคติต่อการศึกษา และลักษณะ การมุ่งอนาคตของประชาชน มีความสัมพันธ์กับความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน ส่วนบทบาท ทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน 3) ข้อเสนอแนะในการเรียนรู้ตลอด ชีวิตของประชาชน ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ที่มีความ หลากหลายตามความต้องการของประชาชน เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เน้นการใช้แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เป็นหลัก และควรส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมให้มากขึ้น

คำสำคัญ: การพัฒนาชุมชน, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, การศึกษาผู้ใหญ่


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548