Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 14, No. 4 (2008) open journal systems 


รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้การประเมินผลเชิงดุลยภาพสำหรับสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
A Strategic Management Model using the Balanced Scorecard for Colleges in Southern Vocational Institution, Region I under the Office of the Vocational Education Commission


เสริมศักดิ์ นิลวิลัย, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

Sermsak Nilwilai
Choomsak Intarak, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Prince of Songkl


Abstract
The purposes of the study were 1) to construct and develop a Strategic Management Model using the Balanced Scorecard for Colleges in Southern Vocational Institution, Region 1 under the Office of the Vocational Education Commission. The sample used in this step consisted of 16 administrators and 236 teachers using the questionnaire to survey the appropriateness and the suitability for practical implementation of the model elements. The collected data were analyzed to compute arithmetic means and standard deviations. In addition 10 professionals were interviewed to determine the model elements. The collected data were analyzed for content. All comments were considered in developing the model. 2) To study an effect of the Strategic Management Model using the Balanced Scorecard. The sample used for this study were 16 administrators and 104 teachers using the questionnaire; and also 4 groups of 16 administrators and 36 teachers working in focus group, to determine the suitability and validity of the model criteria to be adapted. The collected data were analyzed to compute arithmetic means, standard deviations and content analysis. The finding were as follows: The appropriate model consists of 3 components: 1) Strategic planning 2) Strategic implementation and 3) Strategic evaluation and control. The Balanced Scorecard is an appropriate tool to translate the strategies into an action plan from 4 perspectives: a) financial and resources perspective, b) learning and growth perspective, c) internal process perspective and d) customer (student) perspective. Others variables identified that have impact on successful implementation are a) administrators and staff, b) quality management, c) motivation, d) communication and e) information system. The results also indicated that the model conveyed the colleges for the effectiveness, efficiency, responsibility and equity for using the resources to all stakeholders.

Keywords: Balanced Scorecard, Southern Vocational Institution, strategic management

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบและพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้การประเมินผล เชิงดุลยภาพสำหรับสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนนี้คือ ผู้บริหาร จำนวน 16 คน และครูอาจารย์ จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ ข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบที่สร้างขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์เนื้อหา นำผลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบ และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหาร เชิงกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนนี้ คือ ผู้บริหาร จำนวน 16 และครูอาจารย์ จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับผลของรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสนทนากลุ่มจำนวน 4 กลุ่ม จากสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ จากผู้บริหาร 16 คน และครูอาจารย์ จำนวน 36 คน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ประกอบ ด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผนกลยุทธ์ 2) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 3) การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ ทั้งนี้การประเมินผลเชิงดุลยภาพเป็นส่วนที่ใช้ในการแปลงกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 มุมมองได้แก่มุมมอง ด้านการเงินและทรัพยากร ด้านการเรียนรู้และเติบโตด้านกระบวนการภายใน และด้านลูกค้า(ผู้เรียน) ตลอดจนใช้ใน การควบคุมและประเมินกลยุทธ์โดยผ่านตัวชี้วัดผลการดำเนินการหลัก ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนการใช้งานการประเมิน ผลเชิงดุลยภาพ ประกอบด้วย ผู้บริหารและบุคลากร การบริหารเชิงคุณภาพ การจูงใจ การติดต่อสื่อสาร และระบบ สารสนเทศ ผลของรูปแบบทำให้เกิดความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบ และความเท่าเทียมกันของ การเข้าถึงและใช้ทรัพยากรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถานศึกษา

คำสำคัญ: การบริหารเชิงกลยุทธ์, การประเมินผลเชิงดุลยภาพ, สถาบันการอาชีวศึกษา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548