Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 14, No. 3 (2008) open journal systems 


การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Information Literacy of First Year Students at Prince of Songkla University, Pattani Campus


มุจลินทร์ ผลกล้า, ภาควิชาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต
วสันต์ อติศัพท์, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร ว
ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น, ภาควิชาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร

Mudchalin Pholkla, Faculty of Humanities and Social Sciences,Prince of Songkla University, Pattani
Wasant Atisabda, Department of Educational Technology, Faculty of Education,
Chumchit Saechan, Department of Library and Information Science


Abstract
This research is designed to comparatively investigate the information literacy (IL) of first-year students at Prince of Songkla university, Pattani campus through the analysis of these variables: faculty, school, province, GPA, and experience from three courses on library use. The sample comprised 342 first-year students of the 2005 academic year. The data derived from the information literacy test developed based-on the five IL standards of the United States Association of College and Research Libraries: 1) classification and boundaries, 2) accessibility, 3) evaluation, 4) use, and 5) law. The findings indicated that: The subjects’ IL was ranked at the moderate level on all the 5 standards, high on standards 1 and 5 and moderate on standards 2, 3 and 4. The results of the comparative analysis of the variables are as follows: The students from different faculties did not differ on their IL of all the five standards together. It was found that students from different kinds of schools differed in their overall IL. The students from different provinces did not differ on their IL of all the five standards together. The students had different GPA levels differed in their IL of all the five standards together. Students with or without previous courses on library use did not differ in their IL. The research suggested that administrators, librarians in educational institutes at all levels in the three southernmost provinces, as well as teachers expertise in the field of library and information science should collaborate in planning and improving the teaching of this science while providing sufficient specialized human resources, and necessary equipment as well as developing a curriculum in which IL is integrated into other subjects. Besides, university libraries should be well-equipped for information search so that students can efficiently develop their IL.

Keywords: information literacy, information literacy standard, Islamic Private schools, Prince of Songkla university, undergraduate students

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้สารสนเทศและเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตามตัวแปรคณะที่ศึกษา โรงเรียนที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา จังหวัดที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา ระดับผลการเรียน และประสบการณ์ในการเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ห้องสมุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 342 คน รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบทดสอบการรู้สารสนเทศซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอิงตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศระดับอุดมศึกษาสมาคมห้องสมุด มหาวิทยาลัยและวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกาใน 5 มาตรฐานคือ 1)การกำหนดชนิดและขอบเขตสารสนเทศ 2) การเข้าถึง สารสนเทศ 3) การประเมินสารสนเทศ 4) การใช้สารสนเทศ 5) กฎหมายสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามี การรู้สารสนเทศโดยรวมทั้ง 5 มาตรฐาน อยู่ในระดับปานกลาง ระดับสูงในมาตรฐานที่ 1 และ 5 และระดับปานกลาง ในมาตรฐานที่ 2, 3 และ 4 นักศึกษาที่คณะแตกต่างกันมีการรู้สารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่สำเร็จการ ศึกษาจากประเภทโรงเรียนต่างกันมีการรู้สารสนเทศโดยรวมแตกต่างกัน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากประเภท จังหวัดต่างกันมีการรู้สารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่างกัน นั กศึกษาที่มีระดับผลการเรี ยนต่างกันมีการรู้สารสนเทศ โดยรวมแตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุดมีการรู้สารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่าง กัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ หน่วยงานการศึกษาทุกระดับในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ รวมทั้งบรรณารักษ์ควรร่วมมือกันวางแผนจัดการ เรื่องการสอนการรู้สารสนเทศโดยการจัดสรรทรัพยากรบุคคลที่มีความชำนาญ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนการรู้สารสนเทศให้ บูรณาการกับรายวิชาต่างๆ จัดหาและเตรียมสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนทุกระดับให้เพียงพอ นอกจากนี้ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต้องเป็นแหล่งสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ที่หลากหลายสำหรับการสืบค้นสารสนเทศ เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีการรู้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: การรู้สารสนเทศ, นักศึกษาปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มาตรฐานการรู้สารสนเทศ, โรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548