Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 14, No. 3 (2008) open journal systems 


ผลของการเรียนแบบร่วมมือดวยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และเชาวนอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Cooperative Learning by Using Team Games Tournament Technique on Mathematics Achievement and Emotional Intelligence of Prathomsuksa Four Students


จุฑามาศ เดชาพันธุ์กุล, poffy_best_friend@hotmail.com
อริยา คูหา, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
ปราณี ทองคำ, และภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

Jutamas Dachapankul, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University
Ariya Kuha, Department of Psychology and Guidance,Prince of Songkla University
Pranee Thongkam, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University


Abstract
This research was conducted to examine effects of Cooperative Learning by using Team Games Tournament technique on Mathematics achievement and Emotional Intelligence of Prathomsuksa Four students. The samples were 60 Prathomsuksa Four students in the first semester of academic year 2006 from Ban Sabarang school, Pattani province. They were classified into experimental and controlled groups of 30 students each. The instruments included lesson plans on cooperative learning by using team games tournament and traditional teaching, pretest and posttest on mathematics achievement with .81 of reliability, and emotional intelligence test. The randomized control group pretest posttest design was selected, while mean, standard deviation and t-test were employed for data analysis. The findings were as follows: The students treated with cooperative learning by using team games tournament technique showed higher mathematics achievement than those treated with traditional teaching at a significant level of .01. After treated with cooperative learning by using team games tournament technique, the students showed higher mathematics achievement at a significant level of .01. The students treated with cooperative learning by using team games tournament technique treatment produced higher emotional intelligence than those of traditional teaching treatment at a significant level of .01. After treated with cooperative learning by using team games tournament technique, the students showed higher emotional intelligence at a significant level of .01.

Keywords: achievement, cooperative learning, emotional intelligence, mathematics, team games tournament technique

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และเชาวน์อารมณ์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านสะบารัง จังหวัดปัตตานี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 และแบบประเมินเชาวน์อารมณ์ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Randomized control group pretest posttest design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะหข้อมูล ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิตศาสตร์วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการเรียนแบบร่วม มือด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่ได้รับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ด้วยเกม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่ ได้รับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมมีเชาวน์อารมณ์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่ได้รับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ด้วยเกม มีเชาวน์อารมณ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: การเรียนแบบร่วมมือ, คณิตศาสตร์, เชาวน์อารมณ์, เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม, ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548