Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 13, No. 3 (2007) open journal systems 


ผลของการสอนโดยเพื่อนช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีรูปแบบการคิดแตกต่างกัน
Effects of Peer Tutoring on Learning Achievement on Mathematics of Matthayomsuksa Two Students with Different Cognitive Styles


สุธิดา เศรษฐการ, นักศึกษาปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อริยา คูหา, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุเทพ สันติวรานนท์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Sutida Setthakarn, Department of Psychology and Guidance, Prince of Songkla University
Ariya Kuha, Department of Psychology and Guidance, Prince of Songkla University
Suthep Suntiwaranont, Department of Educational Evaluation and Research, Faculty of Education, Prince


Abstract
This research aimed to investigate the effects of peer tutoring on mathematics learning achievement of Matthayomsuksa Two Students with different cognitive styles. Two teaching methods applied in the study were the peer tutoring-based one and the usual one, by means of two cognitive styles: Field Independent and Field Dependent ones. The sample groups comprised 120 students of Matthayomsuksa Two Students, during the second semester of the academic year 2005, in the premise of Satree Yala School, Muang district, Yala province. The instruments used to conduct this experiment were: 1) The Group Embedded Figure Test (GEFT) at the level of reliability 0.839 2) 8 peer tutoring-based lesson plans 3) 8 usual lesson plans 4) Mathematics learning achievement test at the level of reliability 0.907. The statistical pattern, based on the analysis of variance for generalized randomized block experiment (fixed model), was applied through this research. The study’s results indicated that: 1) No interaction was found between the teaching methods and the cognitive styles. 2) Statistically, the significant difference between the peer tutoring method and the normal one was at the level of 0.01 3) The difference of both cognitive styles had no effect on the mathematics learning achievement among the sample groups.

Keywords: peer tutoring, cognitive styles, The Group Embedded Figure Test (GEFT)

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนโดยเพื่อนช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีรูปแบบการคิดแตกต่างกัน ซึ่งวิธีสอนที่ใช้มี 2 วิธี คือ วิธีสอนโดยเพื่อนช่วยสอน และวิธีสอนแบบปกติ และรูปแบบการคิดมี 2 แบบ คือ รูปแบบการคิดแบบเป็นอิสระ จากสิ่งรอบข้าง และรูปแบบการคิดแบบพึ่งพาสิ่งรอบข้าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จากโรงเรียนสตรียะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ ทดลองประกอบด้วย 1) แบบทดสอบ เดอะ กรุป เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Group Embedded Figures Test: GEFT) ที่มีความเชื่อมั่น 0.839 2) แผนการสอนของวิธีสอนโดยเพื่อนช่วยสอน จำนวน 8 แผนการสอน 3) แผนการสอนแบบปกติ จำนวน 8 แผนการสอน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่มี ความเชื่อมั่น 0.907 ใช้แบบแผนทางสถิติแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนสำหรับการทดลองแบบสุ่มสรุปพาดพิง (Analysis of Variance for Generalized Randomized Block Experiment) และโมเดลกำหนด (Fixed Model) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ไม่มีปฏิกิริยาร่วมระหว่างวิธีสอนกับรูปแบบการคิด 2) วิธีสอนโดยเพื่อนช่วย สอน และวิธีสอนแบบปกติส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3) รูปแบบการคิดที่ต่างกันส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ : วิธีสอนโดยเพื่อนช่วยสอน, รูปแบบการคิด, แบบทดสอบ เดอะ กรุป เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548