Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 13, No. 2 (2007) open journal systems 


ความยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษามหาวิทยาลัย
Resilience of University Students of Prince of Songkla University, Pattani Campus


เพ็ญประภา ปริญญาพล
Penprapa Parinyaphol, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
The purposes of this study was to examine resilience of undergraduate students, Prince of Songkla university, Pattani campus. The sampling were 1,162 students enrolled in the first semester of 2005 academic year from Faculty of Education, faculty of Humanities and Social Sciences, Faculty of Science and Technology, Faculty of Fine and Applied Arts, Faculty of Communication Science and College of Islamic Studies. The research instruments were resilience questionnaires, the t-test independent and One ะ way ANOVA were employed to analyze the data. Major findings were as follows: 1) The samples average scores of resilience were at average level. 2) Resilience’s scores of different students’ class-year and different students’ faculty were significant difference at .05 level. 3) “I am” resilience’s subset scores of different students’ birth order, class-year, and faculty were significant difference at .05 level. 4) “I can” resilience’s subset scores of class-year were significant difference at .05 level. 5) “I have” resilience’s subset scores of different students’ academic achievement were significant difference at .05 level.

Keywords : Prince of Songkla University, resilience, stress, university students

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 จากคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสารและวิทยาลัยอิสลามศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสำรวจความยืดหยุ่นและทนทาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระ และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีคะแนนความยืดหยุ่นและทนทานในระดับเกณฑ์ปกติ 2) คะแนนความยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษาที่ชั้นปีและคณะต่างกันมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) คะแนนองค์ประกอบย่อย1 (I am) ของความยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษาที่มีลำดับการเกิด ชั้นปีและคณะต่างกัน มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) คะแนนองค์ประกอบย่อย 2 (I can) ของความยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5) คะแนนองค์ประกอบย่อย 3 (I have) ของความยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยต่างกันมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ความเครียด, ความยืดหยุ่นและทนทาน, นักศึกษามหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548