Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 4 (2006) open journal systems 


การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดการมูลฝอยในโรงเรียนระดับประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกสมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
The Development of a Learning Process for Solid WasteManagement in a Primary School : A Case Study of Wad Khoke Samarnkuhn School, Amphoe Hat Yai, Changwat Songkhla.


พงศ์ภพ ขนาบแก้ว เยาวนิจ กิตติธรกุล
และ สนั่น เพ็งเหมือน
Pongpob Kanabkaew
Jawanit Kittitornkool and Sanan Pengmuen


Abstract
This action research aims to develop the learning process of all stakeholders in a primary school. The research enhanced knowledge of solid waste management among the stakeholders. The study focuses on factors and conditions facilitating and obstructing the learning process. The target group included 48 students of the cleanliness protector club, ten teachers, two janitors and one trader. The principles of the learning activities held from November 2003 - August 2004 comprised the participation, horizontal relationships and direct experience through : 1) workshops on solid waste issues, 2) a study visit on solid waste management to Ban Phru and Hat Yai municipalities, 3) an AIC activity for solid waste reduction project, 4) a study visit of solid waste reduction management project at Municipal School 1, Muang district, Songkhla province, 5) a summary of the learning activities and 6) the cleanliness protection club. Data collection methods included interview, participant observation and focus group. The development of the learning process increased the stakeholders - knowledge, understanding, attitudes and practices concerning solid waste management. The target group had positive attitudes towards the solid waste management activities. A decrease in the quantity of solid waste in the school was also evident. A solid waste reduction project was initiated in the school, especially the recycling one. The factors and conditions facilitating the research process are as follows: 1) the school Top manager - policy, 2) learning-by-doing approach, 3) horizontal relationships between the researcher and the students, 4) the involvement of all social groups in the school. The obstacle of the process comprise: 1) the school hierarchical structure, 2) time discontinuity in the process, 3) lack of sustainability of incentives for the studentsž involvement.

Keywords: action research, learning process, solid waste management in school, Songkhla

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อันส่งผลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงเรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในโรงเรียน และปริมาณมูลฝอยในโรงเรียนลดลง รวมทั้งศึกษาเงื่อนไข ปัจจัยที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วยนักเรียนกลุ่มแกนนำชมรมผู้พิทักษ์ความสะอาด จำนวน 48 คน อาจารย์แกนนำ จำนวน 10 คน นักการภารโรง จำนวน 2 คน และผู้ประกอบการ จำนวน 1 คน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม การสร้างความสัมพันธ์แนวราบ และประสบการณ์ตรง มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ 1) กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องมูลฝอย โดยใช้กิจกรรมตามรอยมูลฝอย การหาองค์ประกอบมูลฝอย และการเฝ้าระวังมูลฝอย 2) กิจกรรมทัศนศึกษาดูงานการจัดการมูลฝอยเทศบาลเมืองบ้านพรุ และเทศบาลนครหาดใหญ่ 3) กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้กระบวนการ AIC เพื่อร่วมกันวางแผนโครงการลดปริมาณมูลฝอยขึ้นใช้ในโรงเรียน 4) กิจกรรมทัศนศึกษาดูงานโครงการลดปริมาณมูลฝอยโรงเรียนเทศบาล 1 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 5) กิจกรรมสรุปประเด็นการเรียนรู้ และ 6) กิจกรรมชมรมผู้พิทักษ์ความสะอาด รวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงเรียน ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฏิบัติ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม ในโรงเรียน กลุ่มเป้าหมายมีความเห็นเชิงบวกต่อกิจกรรม และสามารถดำเนินโครงการลดปริมาณมูลฝอยในโรงเรียนได้ระดับ หนึ่ง รวมทั้งลดปริมาณมูลฝอยในโรงเรียนได้ เงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้แก่ 1) นโยบายของโรงเรียน 2) การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ 3) ความสัมพันธ์แนวราบระหว่างผู้วิจัยกับผู้เรียน 4) ผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้มาจากทุกกลุ่มสังคมในโรงเรียน 5) บรรยากาศการเรียนรู้ และ 6) ทุนงบประมาณ ส่วนเงื่อนไขและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้แก่ 1) ระบบโครงสร้างเชิงอำนาจของโรงเรียน 2) ระยะเวลาที่ไม่ต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม และ 3) การขาดแรงจูงใจที่ยั่งยืนในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน

คำสำคัญ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กระบวนการเรียนรู้ การจัดการมูลฝอยในโรงเรียน สงขลา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548