Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 11, No. 5 (2005) open journal systems 


การวิเคราะห์เรื่องสั้นของวินทร์ เลียววาริณ : อาเพศกำสรวล และ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน
An Analysis of Win Liawwarin’s Short Stories: Aphet Kamsuan and Singmichiwit Thi Riak Wa Khon


สุภาวดี พลชะนะ ดวงมน จิตร์จำนงค์
และ นฤมล กาญจนทัต
Suphawadee Phonchana
Duangmon Chitahamnong and Narumon Karnchanathat


Abstract
This research aimed to study Win Liawwarin’s two books of short stories : Aphet Kamsuan (1994) and Singmichiwit Thi Riak Wa Khon (1999). It was found that in his first book the author expressed, controversially in form and content, his reaction to commonly-found moral debasement, of the individual, organization and society. In the second book he shifted his attention to the search of answers through attempts to learn life, drawing knowledge from various discliplines while investigating experiences in understanding human beings. However, Buddhist philosophy, deeply rooted in Thai culture, was what Win resorted to most in tackling and solving problems. It could be said that Win’s holistic view of human existence in the cosmos accorded, in essence, with Tilakkhana or the Three signs of Being. While recognizing the power of society and culture, Win reminded us that human existence should not be bound with arbitrary rules and regulations even though they had long been ethnically, politically or religiously inherited and observed. The values of these two books of short stories lay in their aesthetic and intellectual forces. They provoked reflection with subtle implications, yet imposing no fixed answers. Philosophically, the books questioned and affirmed the faith in humanity, rather than simply reflecting problems.

Keyword: Aphet Kamsuan, Singmichiwit Thi Riak Wa Khon, short story, values

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งจะศึกษารวมเรื่องสั้น 2 เล่มของวินทร์ เลียววาริณ คือ อาเพศกำสรวล (2537) และ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (2542) ผลการศึกษาชี้ว่าผู้แต่งได้พัฒนาการเขียนจากการแสดงปฏิกิริยาต่อความตกต่ำทางคุณธรรมที่คุ้นชินกันของบุคคล องค์กร และสังคม ด้วยการนำเสนอที่ท้าทายการโต้แย้งทั้งรูปแบบเนื้อหามาเป็นความพยายามหาคำตอบด้วยการพยายามเรียนรู้ โดยอาศัยศาสตร์ต่าง ๆ ควบคู่กับการตรวจสอบประสบการณ์ในการทำความเข้าใจมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่เขาใช้ทำความเข้าใจปัญหาและการแก้ปัญหาก็เน้นที่ปรัชญา พุทธศาสนาในรากวัฒนธรรมไทยเด่นกว่าด้านอื่น กล่าวได้ว่าวิธีมองการดำรงอยู่ของคนอย่างเป็นองค์รวมในระดับจักรวาล สอดคล้องกับหลักธรรมข้อไตรลักษณ์เป็นเนื้อหาหลัก ช่วยเตือนสติให้เห็นการดำรงอยู่ของคน โดยไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์อันเป็นสิ่งสมมุติแม้ที่เชื่อถือต่อเนื่องกันมา ทั้งทางชาติพันธุ์ การเมือง และศาสนา ขณะที่ให้ความเอาใจใส่ต่ออำนาจของสังคมและวัฒนธรรม ผู้แต่งได้เน้นว่าทางออกของปัญหาอยู่ที่ปัญญาของบุคคลที่จะค้นพบคุณค่าที่แท้ด้วยตนเอง คุณค่าของรวมเรื่องสั้นทั้งสองเล่มนี้อยู่ที่พลังทางสุนทรียะและพลังปัญญาที่สร้างความพิจารณาและท้าทายให้คิดด้วยความหมายแฝงเร้นโดยไม่ยัดเยียดคำตอบตายตัว ทั้งสั่นคลอนและสร้างความเชื่อมั่นในสถานะของความเป็นมนุษย์อันมีนัยะเชิงปรัชญามากกว่ามุ่งเพียงแต่จะสะท้อนปัญหา

คำสำคัญ: คุณค่า, เรื่องสั้น, สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน, อาเพศกำสรวล


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548