Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 10, No. 3 (2004) open journal systems 


บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาโดยกระบวนการกลุ่มทางจิตวิทยา: กรณีศึกษานักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Role of Academic Advisor Through Psychological Group Process: A Case Study Humanities Students, Chiang Mai University


ดวงมณี จงรักษ์
Doungmani Chongrukasa


Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการแสดงบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มทางจิตวิทยาต่อการพัฒนาทางด้านวิชาการและการพัฒนาตนของนักศึกษาในความดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในความดูแลของผู้วิจัย มีอายุระหว่าง 18-19 ปี จำนวน 10 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวน 7 และ3 คนตามลำดับ กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกระบวนการกลุ่มทางจิตวิทยา จำนวน 12 ครั้งไม่ต่อเนื่องกัน ครั้งละ 1.5 - 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกลวิธีการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test และ Mann - Whitney U ผลการวิจัยพบว่า 1)นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสะสม GPA ภาคการศึกษาที่ 2 มากกว่าภาคการศึกษาที่1 และมีคะแนนกลวิธีการเผชิญปัญหาหลังกระบวนการกลุ่มมากกว่าก่อนเข้ากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักศึกษากลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยสะสมและคะแนนกลวิธีการเผชิญปัญหา ระยะก่อนและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3)นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนกลวิธีการเผชิญปัญหา ระยะหลังการทดลองมากกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับคะแนนเฉลี่ยสะสม GPA ภาคการศึกษาที่ 2 ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ : กระบวนการกลุ่มทางจิตวิทยา, กลวิธีการเผชิญปัญหา, การพัฒนาวิชาการ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Abstract
Regarding the effects of academic advisor‘s role on student’s academic performance and self-development through psychological group process, 10 students, aged 18-19 years old were on experiment. Seven students participated in group process for 12 sessions nonconsecutively; each session lasted 1.50-2 hours. Another three were in control group. The reeseach instrument was the Coping Strategies Inventory. Data collected before and after the experiment were analyzed by Wilcoxon Signed Ranks Test and Mann-Whitney U. The findings were:1) the grade point averages(GPA) and scores of the Coping Strategies of the experimental group were higher than those before the experiment at the .05 level of significance. 2) GPA and scores of the Coping Strategies of the control group before and after the experiment were not statistically different. 3) After the experiment scores of the Coping Strategies of the experimental group were higher than those of the control group at the .05 level of significance. But the GPA of the two groups were not statistically different.

Key words: academic advisor, academic performance, Coping Strategies, group process


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548