Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 3, No. 1 (1997) open journal systems 


รายงานผลการวิจัยสภาพการมีงานทำและการว่างงานในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้

อาหวัง ล่านุ้ย, ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อับดุลรอซีด เจะมะ, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา
กุสุมา ล่านุ้ย, ภาควิชาโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยเรื่องสภาพการมีงานทำและการว่างงานในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการมีงานทำ สภาพการว่างงาน สาเหตุการว่างงาน ปัญหาที่เกิดจากการว่างงานและความคิดเห็นเกี่ยวกับงานอาชีพของประชาชนในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรเป็นตัวแทนครัวเรือนมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 ราย ซึ่งได้มาด้วยวิธการสุ่มแบบผสม รวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) การวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าลักษณะทั่วไปของประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนเกษตรกรรม การมีงานทำอยู่ในอัตราต่ำเนื่องจากขาดปัจจัยการผลิต กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างไม่เหมาะสมกับชาวมุสลิม แรงงานบางส่วนขาดทักษะการทำงาน นอกจากนั้นมีการทำงานในลักษณะชั่วคราว การว่างงานแอบแฝงและการว่างงานตามฤดูกาลในภาคเกษตรกรรม ขณะเดียวกันแรงงานนอกภาคการเกษตรมีการทำงานต่ำกว่าระดับ โดยจะทำงานใจลักษณะไม่แน่นอน แรงงานภาคเกษตรกรรมส่วนหนึ่งเคยเปลี่ยนงานเพราะรายได้ต่ำ ส่วนแรงงานภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเคยเปลี่ยนงานเพราะสวัสดิการไม่ดี ไม่สะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ แรงงานที่ทำงานนอกชุมชนและต่างประเทศส่วนใหญ่ทำงานภาคบริการและภาค อุตสาหกรรม สาเหตุที่ต้องทำงานนอกชุมชนเพราะในชุมชนไม่มีงาน ขาดปัจจัยการผลิต งานในภาคบริการส่วนใหญ่เป็นงานชั่วคราวใช้ทักษะฝีมือต่ำ ส่วนอาชีพที่ใช้ทักษะสูงมีการสร้างงานไม่มากในพื้นที่ ขณะที่งานในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมประมง ส่วนอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ขยายตัวต่ำ แรงงานที่ออกทำงานนอนชุมชนหรือต่างประเทศได้รับรายได้ต่ำและสวัสดิการไม่ดี อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 4.62 เพราะอาชีพที่ขยายตัวสูงเป็นอาชีพที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวมุสลิม ส่วนอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวมุสลิมตลอดแรงงานหดตัว การว่างงานสูงในชุมชนประมง ในกลุ่มสตรีโสด หย่าร้างหรือหม้าย และในกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี อย่างไรก็ตามภาวะการว่างงานเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกตามตัวแปรต่าง ๆ ก็พบว่าไม่แตกต่างกัน สาเหตุที่ผู้ว่างงานไม่ทำงานในชุมชนเพราะขาดปัจจัยการผลิต งานให้รายได้ต่ำ คนงานขาดทักษะ แหล่งงานไม่ต้องการ หาผู้รับรองเข้าทำงานไม่ได้ ไม่สะดวกในการเดินทาง การหางานทำผู้ที่ว่างงานจะหาเองหรือให้ญาติหรือเพื่อนหาให้ ปัญหาที่เกิดจากการกระทำของผู้ที่ว่างงาน ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ว่าง ๆ ประกอบกับขาดความรู้ด้านศาสนาที่สั่งสอนให้มุสลิมทุกคนทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงชีวิตจึงเกิดการชักจูงกันเสพยาเสพติด การลักขโมย และอาชญากรรมตามมา ประชาชนส่วนใหญ่รู้วัตถุประสงค์ของการทำงานว่า “การทำงานเป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่ง” การเลือกอาชีพจึงไม่ได้ใช้เกณฑ์รายได้อย่างเดียวแต่จะใช้เกณฑ์ศาสนาอนุมัติและความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจด้วย ประชาชนจึงไม่ยอมรับอาชีพบริการหลาย ๆ อาชีพที่มีรายได้สูง เช่น นักร้อง นักแสดง พนักงานสถานเริงรมย์ พนักงานห้องอาหาร ลูกเรือประมง ช่างเสริมสวย พนักงานการเงิน เพราะเป็นอาชีพที่ขัดกับหลักการศาสนาและไม่สะดวกต่อการปฏิบัติศาสนกิจ สาเหตุดังกล่าวทำให้อัตราการว่างงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ เพราะผู้ที่ว่างงานนอกจากจะใช้เกณฑ์รายได้แล้วยังใช้เกณฑ์ศาสนาอนุมัติและความสะดวกต่อการปฏิบัติ ศาสนกิจด้วย คำสำคัญ : ชุมชนมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ แรงงาน การมีงานทำ การว่างงาน The purposes of this research were to study the situations of the employment and the unemployment of people in Muslim communities in Southern border provinces, the problems of unemployment and Muslims’s opinions toward unemployment. The subjects under the study were 500 respondents from Muslim households sampled by using mixed sampling. The data were collected by using interview forms invented by the researchers, and were analyzed by percentage, ANOVA and content analysis. The findings of the research were at low level. Some economic activities were not appropriate to Muslims. Some workers were unskilled as they come from the agricultural sector Consequently, there were disguised unemployment and seasonal unemployment. As there was an oversupply of labor, the entrepreneurs in the non-agricultural sector could choose to employ the labor who accepted lower wages. This caused problems such as underemployment and temporary employment. Some workers in the agricultural sector would like to change their employment status due to low income but some workers in the service sector and the industrial sector would change their employment due to low benefits and inconvenience in religious practices. Without factors of production, most workers outside the communities or in foreign countries temporarily work in the service sector and the industrial sector which required few skills and as a result they received low incomes and low benefits. The unemployment rate was 4.62 percent because the expansion of employment was not relevant to Muslims’ way of life, while the employment relevant to Muslims’ way of life was decreasing. Most unemployment occurred in fishery communities and was also found among females who were single, divorced or widows. Unemployment was also found. among those under 25 years old However, there was no significant difference among variables. The reasons why unemployed persons did not word in their communities were the lack of production factors, low income, lack of skills required by the jobs, lack of guarantors and inconvenience in travelling. The subjects either find employment themselves or their relatives helped. Problems on part of the unemployed persons were their idleness, drug addiction, thefts and crimes. According to their general opinions toward the purposes of employment, most subjects considered working a religious act. Therefore, they did not choose their occupations by the incomes or wages but choosing the ones permitted by their religion and convenient for religious practice. Some service occupations therefore were not accepted despite high income such as singing, acting or some employments in entertainment places or restaurants, work for fishery crews, beauticians, or work in financial institutes or banks. As a result, unemployment occurred more in this region than in others. Keywords : Muslim communities, southern border provinces, labor, employment unemployment


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548