Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 2 (1998) open journal systems 


สถานะของภาษาต่างใบในภาษาไทถิ่น

พุทธชาติ โปธิบาล, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
ภาษาตากใบเป็นภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ แต่สถานะของภาษาตากใบในสาขาย่อยของภาษาตระกูลไทยังไม่ชัดเจน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางภาษาของภาษาตากใบกับภาษาไทถิ่นและภาษาไทกลุ่มอื่น ๆ เพื่อพิสูจน์ว่าภาษาตากใบมีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายใกล้ชิดกับภาษาไทถิ่นใด โดยใช้วิธีการศึกษาแนวภาษาศาสตร์วรรณนาและภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามภาษาตากใบ ไทดำ พวน และผู้ไท เพื่อจัดทำรายการคำศัพท์แล้ววิเคราะห์และพรรณนาระบบเสียง และเก็บข้อมูลภาษาไทยกลาง เหนือ อีสาน และใต้จากเอกสาร แล้วเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของภาษาตากใบกับภาษาไทยกลาง เหนือ อีสาน ใต้ ไทดำ พวน และผู้ไท ผลการศึกษาเปรียบเทียบภาษาตากใบกับภาษาไทถิ่นต่าง ๆ พบว่า ก) ภาษาตากใบมีลักษณะการกลายเสียงพยัญชนะต้นดั้งเดิมกักก้องเป็นเสียงกักไม่ก้องมีกลุ่มลม (กลุ่ม PH) เหมือนกับภาษาไทยกลาง อีสาน ใต้ พวน และผู้ไท ข) ภาษาตากใบมีลักษณะการแยกเสียงวรรณยุกต์แบบสองทาง และมีการรวมเสียงวรรณยุกต์ที่เปลี่ยนแปลงมาจากวรรณยุกต์ดั้งเดิม B กับ DL เหมือนกับภาษาผู้ไทและไทดำ ค) ภาษาตากใบมีลักษณะการยึดเสียงของเสียงสระสูงดั้งเดิมเป็นเสียงยาวในคำพยางค์ปิดคล้ายคลึงกับภาษาผู้ไท ง) ภาษาตากใบมีการใช้คำศัพท์เฉพาะจำนวนหนึ่งที่ไม่ปรากฏในภาษาไทยกลางและใต้ แต่กลับปรากฏในภาษาไทยเหนือ อีสาน ไทดำ พวน และผู้ไท ทั้งนี้ภาษาตากใบใช้คำศัพท์เฉพาะร่วมกับภาษาผู้ไทมากกว่าภาษาไทอื่น ๆ จากผลการวิจัยทั้ง 4 ประการผู้วิจัยจึงสรุปว่า ภาษาตากใบมีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายกับภาษาผู้ไทมากที่สุด คำสำคัญ : ภาษาตากใบ, ภาษาไทยกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้, สถานะของภาษา The position of Tak Bai among the Southwestern Tai dialects has not yet been appropriately verified. This research aims at comparing some linguistic characteristics of Tak Bai and other Tai dialects so as to prove their genetic relationship. The methodology used is that of descriptive and comparative linguistics. Fieldworks on Tak Bai, Tlack Tai, Phuan and Phu Tai have been conducted. Their vocabularies and phonological systems are then analyzed and described. In addition, linguistic data of 4 Thai dialects, i.e. Northern, Central, Northeastern and Southern Thai, are drawn from several sources. The comparative study of these dialects shows that : a) with respect to the phonological changes of proto voiced stops, Tak Bai falls in the same PH-group as Central, Northeastern and Southern Thai dialects, Phuan and Phu Tai; b) with respect to tonal splits and mergers, Tak Bai exhibits a ‘two-way split’ and a ‘B=DL merger’, similar to Phu Tai and Black Tai; c) with respect to the lenghtening of proto Tai high vowels in close syllables, Tak Bai behaves in the same way as phu Tai; d) certain lexical items in Tak Bai which are not found in Central and Southern Thai are present in Northern and Northeastern Thai dialects, Black Tai, Phuan, and Phu Tai. In this respect, Phu Tai shares a larger number of lexical items with Tak Bai than other dialects under study. These 4 evidences lead to the conclusion that genetically Tak Bai and Phu Tai are closely related. Keywords : Tak Bai, Southwestern Tai dialects, linguistic position


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548