Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 6, No. 3 (2000) open journal systems 


ความพร้อมและความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ กรณีผู้อบรมหลักสูตรผู้ประกอบการใหม่

สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จงพิศ ศิริรัตน์, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ยุพาวดี สมบูรณกุล, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การศึกษาความพร้อมและความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความพร้อมและความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ และ 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมและความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ โดยได้จัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้ประกอบการใหม่ จำนวน 250 ตัวอย่าง จากผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 685 คน คิดเป็นร้อยละ 36.5 ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าอบรมมาจากจังหวัดสงขลามากที่สุดร้อยละ 76.4 เนื่องจากมีความสะดวกและใกล้สถานที่ฝึกอบรม โดยข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้าอบรมเป็นเพศชายร้อยละ 52.0 โสดร้อยละ 55.6 มีอายุในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 45.6 จบการศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 68.8 เป็นเจ้าของธุรกิจอยู่แล้วร้อยละ 36.4 ถ้าเป็นผู้แต่งงานแล้ว คู่สมรสมีอาชีพเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.6 มีบิดาเป็นเจ้าของกิจการร้อยละ 30.8 และมารดาอาชีพแม่บ้านร้อยละ 58.4 ผู้ประกอบการที่มารดาเป็นเจ้าของกิจการมีเพียงร้อยละ 21.6 ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าอบรมที่สนใจเป็นผู้ประกอบการแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มบัณฑิตใหม่/ผู้ว่างงาน 2) กลุ่มคนที่มีอาชีพประจำอยู่แล้ว 3) กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนในด้านอื่น ๆ เพิ่ม โดยพบว่าบัณฑิตใหม่/ผู้ว่างงานร้อยละ 54.4 ยังไม่แน่ใจว่าจะทำธุรกิจประเภทใด ในขณะที่ลูกจ้างเอกชนสนใจธุรกิจบริการ ข้าราชการสนใจธุรกิจค้าปลีก และผู้เป็นเจ้าของกิจการอยู่แล้วสนใจที่จะลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ผู้เข้าอบรมสามารถระบุประเภทธุรกิจที่สนใจจะลงทุนร้อยละ 68 มีแหล่งเงินทุนแล้วร้อยละ 55.2 หลักทรัพย์ที่มีมักปรากฏในรูปของอาคารและที่ดินร้อยละ 53.2 ผู้เข้าอบรมมีความสามารถของการเป็นผู้ประกอบการอยู่ในเกณฑ์ดี กล่าวคือ มีความมุ่งมั่น อดทน รับผิดชอบมีความเป็นผู้นำและเป็นผู้ริเริ่มดี มีความสามารถในการตัดสินใจ ได้รับการเชื่อถือจากบุคคลอื่นและเชื่อมั่นในตนเองในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาคือ 1) ขยายกลุ่มตัวอย่างไปยังจังหวัดอื่น ๆ 2) ศึกษาปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการจัดตั้งกิจการใหม่ 3) ศึกษาผลของการมีบิดามารดาเป็นเจ้าของกิจการต่อความสำเร็จของกิจการ 4) ติดตามผลผู้เข้าอบรมเพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับความพร้อมและความสามารถที่ได้ศึกษาไว้ตามที่ได้ระบุไว้ข้างต้นในข้อ 5 ของผลการศึกษา 5) ความสำเร็จของธุรกิจมิได้ขึ้นกับความพร้อมและความสามารถของบุคคลเท่านั้น หากแต่ขึ้นกับการปรับตัวธุรกิจให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวดล้อมธุรกิจด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีวิสัยทัศน์และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด 6) การศึกษาครั้งนี้เกิดจากการกดดันของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ จึงควรศึกษาถึงความพร้อมและความสามารถภายใต้ภาวะปกติด้วย คำสำคัญ : ผู้ประกอบการ The objectives of the study of readiness and entrepreneurial ability were 1) to study the readiness and entrepreneurial ability and 2) to find the factors effecting them. The data was collecting from the trainees of potential entrepreneurs training courses for 250 samples out of 685 population who attended the training courses, which was 36.5 percent. The findings of the study were : most of the participants who interested in the training, 76.4 percent, came from Songkhla province because of the convenience and the accessibility of the communication and transportation to the training place. The bio-data of the participants were : they are male for 52 percent of the samples. The marrital status is single/bachelor for 55.6 percent. The age between 21.30 years old is about 45.6 percent. The education level is bachelor degree for 68.8 percent. They are business owner for 36.4 percent; if married, their spouse are government officers or personnels in public sector for 17.6 percent. Most of their fathers are business owner for 30.8 percent, and most of their mothers are housewife for 58.4 percent. But their mothers are business owner for only 21.6 percent. The participants interested in being an entrepreneur themselves can be classified into 3 groups : 1) the new graduates/unemployment 2) those who already have permanent job in private sector, and 3) the existing entrepreneurs who wanted to diversify their businesses. The study revealed that : new graduates/unemployment, 54.4 percent, are not sure yet about what type of business they are going to invest. Employees in private sector interested in the investment in service sector, Government officers interested in retail sector, The business owners interested in diversifying their business to manufacturing sector. The study also revealed that the participants can classified the type of business they are going to invest for 68 percent. They have source of fund for 55.2 percent, and the assets they have are land and buildings for 53.2 percent. Besides, it revealed that the participants gained and entrepreneurial ability at a good level, it means they already have skill in : persistency, tolerance, responsibility, creativity, decisive, accountability, and self-confidence at a moderate level. Suggestions from the study are : 1) Expanding the sample size to other provinces. 2) Study on other factors effecting new business creation. 3) Study the impact on having parents, who are business owners with the success of the businesses. 4) Follow-up those participants, to do the comparative study on the business success with the readiness and ability gained as mentioned in the findings numbered 5. 5) Business success does not only come from individual readiness and ability, but also the adaptability to the changes of business environment. So entrepreneurs should have good vision and know all the updated informations too. 6) The economic crisis initiated us to do this study so there should have another study on the readiness and ability under normal economic situation as well. Keyword : entrepreneur


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548