Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 6, No. 3 (2000) open journal systems 


สิ่งแวดล้อมศึกษาในสังคมไทย

รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ, ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและการจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในสังคมไทย ผู้วิจัยได้ตั้งประเด็นการวิจัยว่าพัฒนาการของการจัดการศึกษาด้วยสิ่งแวดล้อมศึกษาในระบบการศึกษาของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนถึง ปี พ.ศ.2540 มีพัฒนาการความเป็นมาอย่างไร โดยจะพิจารณาถึงนโยบายและการจัดหลักสูตร ตลอดจนการจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมศึกษานอกระบบโรงเรียน โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารแล้วนำมาวิเคราะห์ เรียบเรียง สรุป และนำเสนอเป็นแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า การจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยปรากฏชัดเจนในปี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา โดยได้รับอิทธิพลทั้งจากองค์กรระหว่างประเทศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในประเทศ และความตื่นตัวขององค์กรเอกชนและภาคเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม มีการบรรจุรายวิชาต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมให้นักเรียนเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาในทุกกลุ่มวิชา ในระดับอุดมศึกษานอกจากจะเปิดเป็นรายวิชาพื้นฐานแล้ว ยังเปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างจริงจัง โดยได้จัดทำแผนแม่บทโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา (พ.ศ.2534-2539) ขึ้น และประกาศใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาร่วมรับผิดชอบในการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนทั่วไปอีกหลายหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรเอกชน ภาคเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งได้จัดทำแผนหลักและแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมศึกษา (พ.ศ.2540-2544) โดยคาดหวังว่าจะได้ประกาศใช้เป็นนโยบายระดับประเทศ แม้ว่าจะได้มีการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนโดยบรรจุไว้ในหลักสูตรมาเป็นเวลาถึง 20 ปี แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่ได้บรรเทาลง เพราะยังไม่สามารถเสริมสร้างให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีทักษะ ร่วมคิดและร่วมทำในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เท่าที่ควร เพราะหลักสูตรขาดการบูรณาการและขาดความต่อเนื่องของเนื้อหาในระหว่างระดับชั้น รวมทั้งขาดกิจกรรมเสริมสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม นอกจากนั้นยังขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณ ตลอดจนปัญหาด้านวิธีการสอนและการประสานงาน ดังนั้นจึงควรต้องเร่งปรับปรุงในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ คำสำคัญ : สิ่งแวดล้อมศึกษา, สิ่งแวดล้อม, การศึกษา, สังคมไทย The aim of this study was to compile and analyze basic information on the state of the environment and the administration of environmental education in Thai society. The key research question was to investigate how administration of environmental educational had been developed over the period from 1978 to 1997. The study focused on policy development and implementation of the environmental educational curriculum, both formal and informal. The study was based primarily on documentary research. Information acquired from the research, synthesized, and presented in a narrative manner. The study revealed that environmental education has emerged in the Thai educational system since 1978, influenced by international organizations, the country’s intensified environmental problems, and increasing environmental awvironmental awareness among the private sector, NGOs and communities. Several environmental subjects have since been introduced into primary and secondary school curricula. At the tertiary level, relevant subjects have been introduced as part of general education studies. Degrees in environmentally-related fields have been offered at all levels: a Bachelor’s Degree, a Master’s Degree and a Doctorate Degree. The Ministry of Education expressed their concerns over environmental education by developing a Master Plan for Environmental Education (1991-1996), which was enacted in February, 1991. Besides these initiatives, several other organizations joined the bandwagon in providing environmental knowledge to the public. These included private sector organizations, the media, and environmental NGOs. The Department of Environmental Quality Promotion developed a Master Plan and an Operation Plan for Environmental Education (1997-2001), hoping that it would be adopted as the national policy. In conclusion, environmentally-related subjects have been part of the national curriculum at all levels for 20 years. Ironically, Thailand’s environmental problems have not been solved, or even reduced. Thailand has not yet succeeded in promoting environmental awareness or problem-solving skills, or encouraging participation in solving environmental problems. This might be because the existing curricula lack continuation, integration, and appropriate activities; as well as deficiencies in qualified teachers, budget, teaching methods and management techniques. Serious remedial actions are needed to tackle these problems. Keywords : environmental education, environment, education, Thai society


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548