Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 8, No. 2 (2002) open journal systems 


อิทธิพลการกวดวิชาที่มีต่อความตรงเชิงพยากรณ์และความยุติธรรมของแบบทดสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ชิดชนก เชิงเชาว์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทวี ทองคำ, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศรีกัลยา ภิญโญสโมสร, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยครั้งนีมวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการกวดวิชาที่มีต่อความตรงเชิงพยากรณ์และความยุติธรรมของแบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานวิชาการ ซึ่งใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่และวิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2543 จำนวน 1,389 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบบันทึกคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นปีที่ 1 ของนักศึกษาที่ผ่านการกวดวิชาสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ผ่านการกวดวิชา สำหรับค่าความตรงเชิงพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบวัดความรู้พื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ วิชาเคมี และวิชาฟิสิกส์ สำหรับกลุ่มนักศึกษาที่ผ่านการกวดวิชามีค่าสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่ไม่ผ่านการกวดวิชา ส่วนความตรงเชิงพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบวัดความรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ผลการวิจัยแสดงว่าแบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานทางวิชาการสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ เคมี และภาษาอังกฤษ ไม่มีความลำเอียงระหว่างกลุ่มที่ผ่านและไม่ผ่านการกวดวิชา ในขณะที่วิชาฟิสิกส์มีความลำเอียงเกิดขึ้น คำสำคัญ : การกวดวิชา, ความตรงเชิงพยากรณ์, ความยุติธรรมของแบบทดสอบ, ความลำเอียงของแบบทดสอบ, แบบทดสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย The purposes of the study were to examine the predictive validity and fairness of the Entrance Examination into Prince of Songkla University. The study was conducted with 1,389 first year students in the academic year 2000 at Prince of Songkla University in Hat Yai and Pattani campuses. The instruments for data collecting were a questionnaire and a record of accumulative average score. The results of the study were that accumulative average scores at upper secondary level, percentile and first year accumulative scores of students who received coaching were higher than those of the students who did not receive coaching. The predictive validity of learning achievement of the Entrance examination in Mathematics, Chemistry and Physics of students who received coaching was higher than that of the students who did not. However, there was no difference in the predictive validity of English learning achievement for both groups. In addition, the Entrance Examination in Mathematics, Chemistry and English were unbiased for both coached and uncoached groups white Physics was not. Keywords : coaching, entrance examination, predictive validity, test bias, test fairness


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548