Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 7, No. 2 (2001) open journal systems 


การตัดสินใจของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในการใช้วิธีการกรีดยางระหว่างวิธีเจาะต้นยางกับการใช้มีกรีดยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ศิริจิต ทุ่งหว้า, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สมยศ ทุ่งหว้า, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วีรยุทธ ดาวัลย์, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อการตัดสินใจการใช้วิธีการเจาะต้นยาง รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่าง ๆ ในการใช้การเจาะต้นยางระหว่างเกษตรกรที่ใช้วิธีการเจาะต้นยางกับเกษตรกรที่ใช้มีดกรีดยาง เป็นการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดำเนินการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาจำนวน 137 ครัวเรือน แบ่งเป็นครัวเรือนเกษตรกรกลุ่มที่ 1 คือเกษตรกรที่ใช้วิธีการเจาะต้นยางจำนวน 56 ครัวเรือน และครัวเรือนเกษตรกรกลุ่มที่ 2 คือเกษตรกรที่ใช้มีกรีดยางจำนวน 81 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่าขนาดพื้นที่สวนยาง จำนวนหน่วยแรงงานในการทำสวนยาง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างของอายุและระดับการศึกษา มีผลต่อการตัดสินใจใช้วิธีการเจาะต้นยาง เกษตรกรตัดสินใจใช้วิธีการเจาะต้นยางจากการรับรู้ข่าวสารจากตัวแทนบริษัทฯ และจากการพูดคุยกับเพื่อนบ้านที่ทำแล้วได้รับผลดีคือ มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาในเรื่องแรงงานและช่วงเวลาที่ใช้ปฏิบัติงานในการใช้มีดกรีดยางได้ ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการใช้วิธีการเจาะต้นยาง ด้านผลประโยชน์เห็นด้วยมากกว่าน้ำยางที่ได้มีความสะอาด ได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอตลอดปี ด้านแรงงานไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีความชำนาญ สามารถปฏิบัติงานในเวลากลางวันและในช่วงฝนตกได้ ใช้แรงงานน้อยกว่าทำให้มีเวลาในการทำกิจกรรมอย่างอื่นเพิ่มขึ้น ด้านปฏิบัติและความเสี่ยง ต้องใช้เงินลงทุนสูง และอาจเกิดผลเสียต้อเนื้อไม้ในระยะยาว เปรียบเทียบปัจจัยต่าง ๆ ต่อการใช้วิธีการเจาะต้นยาง ปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพ อายุของต้นยาง และผลผลิตน้ำยาง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ รายได้สุทธิจากการใช้วิธีการเจาะต้นยาง พื้นที่ทำการเกษตรกร/หน่วยแรงงาน และหน่วยแรงงานในการทำสวนยาง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01) ส่วนรายได้สุทธิจากการทำสวนยาง รายได้รวมของครัวเรือนเกษตร และสมาชิกที่ใช้แรงงานในการทำการเกษตร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01) ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับความคิดเห็นของเกษตรกรในการใช้วิธีการเจาะต้นยาง ทั้งความคิดเห็นด้านผลประโยชน์ ด้านแรงงาน ด้านวิธีการปฏิบัติ และความเสี่ยง ด้านการรับรู้ข่าวสาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01) คำสำคัญ : การตัดสินใจ, วิธีการกรีดยาง, วิธีเจาะต้นยาง, วิธีใช้มีดกรีดยาง, เกษตรกรชาวสวน ยาง The objectives of this study were to investigate the factors affecting decision making on tapping methods, the puncture and traditional, and also to compare the differences of those factors involving 2 rubber farmer groups using each method. Both qualitative and a quantitative investigations were evaluated by interviewing 137 farmers from both groups, 56 using the puncture method, and 81 using the traditional method. Results showed that major factors affecting decision making on puncture method were: the size of the rubber plantation, the number of labor units available, economic status, and difference in age and education. They decided to use puncture method after receiving the information from sales representatives and talking to their neighbors who net income had increased from increased tapping period and labor problems being solved. The opinions of the rubber farmers on the puncture method were concluded as follow: Benefits: They strongly agreed that the latex was needed and tapping could be done during rainy days, and less labor was needed and it might affect the texture of the rubber trees, in the long run. Information: They received information on the puncture method from sales representative and their neighbors. By comparing the differences between the puncture and traditional methods from our studies, results were concluded as follows: Bio-physical factors: The differences in the life span of the rubber trees and latex production were statistically significant (P < .01). Economic factors: The differences in the net income, sizes of plantation, and labor units were statistically significant (P < .01); the differences in the net income, total household income, and number of labor units were statistically significant (P < .05). Social factors: The difference in age and education of the household leaders were statistically significant (P < .01). Psychological factors: The differences in their opinions on benefits, labor, practice and risk, and information were statistically significant (P < .01). Keywords: Decision Making, Method of Tapping, Puncture Method, Traditional Method, Rubber Farmers


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548