Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 19, No. 4 (2013) open journal systems 


บริบททางประวัติศาสตร์กับกำเนิดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
The Birth of Prince of Songkla University; Pattani Campus and the Historical Context


บัญชา สำเร็จกิจ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Banchar Sumrejkit, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University


Abstract
The establishment of PSU was the results of the first national economic development plan (1961-1966). The original purpose was to respond to three main issues 1) manpower in needed fields 2) response to economic growth and 3) national security. Initially, due to historical rationale the first main campus was located in Rusamilae. Although the original plan was to spread campuses throughout the south PSU Policy had changed. Rusamelae campus was designed to focus on the fields of Humanities and social sciences where use Kor-Hong campus was expected to put and emphasis on science and technology, Medical science, Additionally, Hat Yai campus was the location of the president office and considered as the main Campus Consequently, this has significantly influenced how these two campuses have grown and developed.

Keywords: Prince of Songkla University; Pattani Campus, the First National Economic Development Plan, the Prince of Songkla University Act of 1968

บทคัดย่อ
การกำเนิดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันเป็นผลมาจากนโยบายเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ จำเป็นต้องมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาในส่วนกลาง และภูมิภาคเพื่อผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อ สนองความเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากความจำเป็น ในการขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปในท้องถิ่น เพื่อผลิตกำลังคนในระดับสูงแล้ว เหตุผลที่สำคัญอีก ประการหนึ่งในการก่อตั้งมหาวิทยาลัย คือ เหตุผลใน ด้านความมั่นคง เนื่องจากในบริเวณ 5 จังหวัดชายแดน ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีความแตกต่างด้านศาสนา ความเชื่อ และวัฒนธรรม กับบริเวณอื่นของประเทศ รวมทั้งมีขบวนการติดอาวุธต่อต้านอำนาจรัฐหลากหลาย ขบวนการ รัฐมีความเห็นว่าการจัดตั้งสถาบันการศึกษา ระดับสูงจะเป็นแนวทางประการหนึ่งในการแก้ปัญหา ดังกล่าว การก่อตั้งมหาวิทยาลัยในระยะแรกมีแผน การตั้งวิทยาเขตหลักที่รูสะมิแล จังหวัดปัตตานี โดยใช้ เหตุผลทางประวัติศาสตร์ มีแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยในลักษณะพหุวิทยาเขต มีการกระจาย การตั้งคณะวิชาไปตามจังหวัดต่างๆ ภายหลังมีการ เปลี่ยนแปลงนโยบายและทิศทางของมหาวิทยาลัย โดย กำหนดให้ศูนย์ศึกษารูสะมิแลเป็นวิทยาเขตที่เน้นใน ด้านศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ขณะ ที่เน้นให้ศูนย์ศึกษาคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลาเป็นวิทยาเขตในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ และประเด็นสำ คัญคือ การกำหนดให้วิทยาเขตหาดใหญ่เป็นที่ตั้งของ สำนักงานอธิการบดีหรือวิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัย มีผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อความเติบโตที่แตกต่างกัน ระหว่างสองวิทยาเขตรวมถึงความลักลั่นใน การบริหารมหาวิทยาลัยในรูปของพหุวิทยาเขต

คำสำคัญ: แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548