Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 19, No. 3 (2013) open journal systems 


ภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้ในการส่งเสริมสุขภาพจิตแม่และเด็ก
The Southern local wisdoms for promoting mother and child mental health.


จุฑารัตน์ สถิรปัญญา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Chutarat Sathirapanya, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University


Abstract
This phenomenological study was to explore and explain local wisdoms related to the promotion of mother and child mental health. Purposive sampling was used to select twenty-one of respected expertise villagers in Phatthalung. These selected expertise villagers had to have lived in the district at least thirty years and have been recognized by at least ten other villagers. The data was collected from January 2008 to May 2009 by in-depth interviews, non-participation observation, and field notes. Content analysis was performed. The findings reveal three main aspects: 1) care of pregnant women 2) prenatal care and cultural rituals for women in labor and delivery 3) cultural rituals and postnatal care. Local wisdom for child mental health promotion include seven aspects 1) rituals and postpartum care 2) adequately nourished diet for child 3) disciplining 4) song singing 5) handmade-toys 6) storytelling and 7) time with child. Those findings reflect on how local wisdom and modern mother-child care were integrated in order to improve child mental health.

Keywords: child, local wisdom, mental health, mother, southern Thailand,

บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและอธิบายภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้ในการส่งเสริมสุขภาพจิตแม่และเด็กในพื้นที่จังหวัดพัทลุง โดยใช้กระบวนการสำรวจชุมชนเพื่อค้นหาปราชญ์ด้านภูมิปัญญาสุขภาพจิตในการดูแลแม่และเด็กเป็นผู้ให้ข้อมูลจำนวน 21 คน ที่มีคนในชุมชนอ้างถึงไม่น้อยกว่า 10 คน ว่าเป็นผู้รู้เรื่องการดูแลแม่และเด็ก อาศัยอยู่ในตำบลพนางตุง และตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ไม่น้อยกว่า 30 ปี สมัครใจ และยินดีให้ข้อมูล เก็บข้อมูลช่วงเดือน มกราคม 2551 ถึง พฤษภาคม 2552 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม บันทึกภาคสนาม และบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพจิตมารดา 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 2) การดูแลและประกอบพิธีกรรมสำหรับแม่ในระยะใกล้คลอด และคลอด 3) การดูแลและพิธีกรรมสำหรับแม่หลังคลอด สำหรับภูมิปัญญาด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็ก 7 ประเด็น ได้แก่ 1)การดูแลและพิธีกรรมสำหรับเด็กหลังคลอด 2) การเลี้ยงดูเด็กให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ 3) การสร้างวินัยให้เด็กอยู่ในโอวาท เชื่อฟังผู้ใหญ่ 4) การร้องเรือหรือกล่อมเด็ก 5) การให้เล่นโดยทำของเล่น และเล่นกับเพื่อนๆ พี่น้อง ผู้ใหญ่ 6) การเล่านิทานสอดแทรกคุณธรรม ตลกขบขัน และ 7) การให้เวลากับเด็ก ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นแนวทางการบูรณาการภูมิปัญญาพื้นบ้านกับการจัดระบบสุขภาพในปัจจุบันเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตเด็ก

คำสำคัญ: การส่งเสริมสุขภาพจิต, ภาคใต้ , ภูมิปัญญาพื้นบ้าน, แม่และเด็ก


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548