Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 19, No. 3 (2013) open journal systems 


การคอรัปชั่นและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในสังคม: การพิจารณาระหว่างประเทศ
Corruption and Income Inequality in Society: A Cross-Country Review


ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Supachet Chansarn, School of Economics, Bangkok University


Abstract
Corruption, one of the serious problems, has long been regarded to hinder nations’ economic growth and social development, especially the eradication of the disparity in society as measured by income inequality of people. This article aims to present problems regarding corruption and income inequality including the relationship between corruption and income inequality at both at national and international levels. The study shows that lower-middle income and low income countries have a very high rate of corruption, whereas all high-income countries have the low rate of corruption. In terms of income inequality, the findings reveal that the income inequality appears to be a very serious issue in lower-middle income and upper-middle income countries, whereas high income countries and some transition economies are found to have low income inequality. Additionally, the corruption is found to have the positive link to the income inequality. Moreover, compared to upper-middle income and high income countries, Thailand, as an upper-middle income country, still has high rate of corruption and high income inequality.

Keywords: Corruption, Economic and Social Development, Income Inequality

บทคัดย่อ


คำสำคัญ: การคอรัปชั่นถือเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ขัดขวางกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขจัดความไม่ความเท่าเทียมกันในสังคมซึ่งวัดโดยความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของคนในสังคม บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาการคอรัปชั่นและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ รวมทั้งนำเสนอความเชื่อมโยงของการคอรัปชั่นและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ทั้งในระดับนานาชาติและในประเทศไทย ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการคอรัปชั่นมีความรุนแรงเป็นอย่างมากในประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำและประเทศที่มีรายได้ต่ำ ในขณะที่ประเทศที่มีรายได้สูงทุกประเทศล้วนมีปัญหาการคอรัปชั่นในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ พบว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้มีความรุนแรงเป็นอย่างมากใน 3 กลุ่มประเทศ ได้แก่ ประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง ประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ และประเทศที่มีรายได้ต่ำ ในขณะที่ประเทศที่มีรายได้สูงและประเทศที่มีการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจบางประเทศ มีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระดับต่ำ นอกจากนี้พบว่า การคอรัปชั่นมีความสัมพันธ์ในทางเชิงบวกกับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูงยังถือได้ว่ายังมีปัญหาการคอรัปชั่นและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูงและประเทศที่มีรายได้สูงอื่นๆ คำสำคัญ: การคอรัปชั่น, การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม, ความเหลื่อมล้ำทางรายได้


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548