ส่วนไพโรจน์, . (2004, September 14). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงที่มีต่อนิสัยและเจตคติในการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 7(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=99.

ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงที่มีต่อนิสัยและเจตคติในการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์

สุดใจ ส่วนไพโรจน์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงที่มีต่อนิสัยและเจตคติในการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปี 2 จำนวน 32 คน ซึ่งได้คะแนนแบบสำรวจนิสัยและเจตคติในการเรียนต่ำกว่า -0.5 S.D. โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 16 คน กลุ่มทดลอง 16 คน และให้กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยระยะแรกให้เข้ากลุ่มการปรึกษาแบบต่อเนื่อง 3 วัน 2 คืน เป็นเวลา 20 ชม. และระยะต่อมาให้เข้าประชุมกลุ่มย่อยอีก 10 ครั้ง ครั้งละ 1 ชม. เป็นเวลา 15 ชม. รวมเวลา 35 ชม. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบที (T-test) ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีนิสัยและเจตคติในการเรียนสูงกว่าก่อนเข้ากลุ่มการปรึกษาและสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้ากลุ่มการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง, เจตคติในการเรียน, นักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์, นิสัยการเรียน This research, using the pretest-posttest control group design, aimed to investigate the effects of Group Reality The sample consisted of 32 second-year students. Randomly selected from those who scored lower than -0.5 S.D. on the Survey of Study Habits and Study Attitudes; 16 were assigned to the control group, the other 16 to the experimental group. The experimental group participated in a Group Reality Therapy program conducted by the researcher for continual three days and two nights, for a total of 20 hours, and later in a counseling group for two sessions of 1 hours each week over five weeks, for a total of 15 hours. This made a combined total of 35 hours intervention. The t-test was utilized for data analysis, It was found that students in the experimental group obtained higher scores on the posttest than on the pretest, and higher scores on the posttest than those in the control group, significantly at the .01 level Keywords : Group Reality Therapy, mathematics students, study attitudes, study habits

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=99