พรมประสิทธิ์, ., จันทรโรทัย, ., ยุตาคม, ., Promprasit, <., Jantrarotai, P., & Yutakom, N. (2010, December 3). กรณีศึกษา: ผลของการใช้หน่วยการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระดับชั้นมัธยมศึกษา
A Case Study: Effect of Implementing Species Diversity Learning Unit of Grade 10 Students through Community Funds of Knowledge. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(5). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=800.

กรณีศึกษา: ผลของการใช้หน่วยการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระดับชั้นมัธยมศึกษา
A Case Study: Effect of Implementing Species Diversity Learning Unit of Grade 10 Students through Community Funds of Knowledge

ญาณพัฒน์ พรมประสิทธิ์, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พัฒนี จันทรโรทัย, ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นฤมล ยุตาคม, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Yanaphat Promprasit, Department of Education, Faculty of Education, Kasetsart University
Pattanee Jantrarotai, Department of Zoology, Faculty of Science, Kasetsart University
Naruemon Yutakom, Department of Education, Faculty of Education, Kasetsart University

Abstract

This research aimed to study the effect of implementing a species diversity learning unit for grade 10 students through community funds of knowledge on teacher’s teaching species diversity and students’ concepts and awareness of species diversity. The participants consisted of one biology teacher and forty-two students from a subdistrict secondary school in the Rachaburi Province. Data collection included classroom observations, semi-structured interviews and 12-item written species diversity concepts and an awareness survey. The data from classroom observations and interviews was analyzed using thematic analysis and the data from the concept survey was analyzed and categorized into 5 groups. The results revealed that the teacher emphasized community funds of knowledge, students’ prior knowledge, and variety of learning activities. However, the teacher emphasized students’ memorization about terminology for learning species diversity concepts. After implementing the learning unit, 65-80 percent of students improved on all of species diversity concepts that were consistent with scientific concept and partial scientific concept about meaning of species diversity, 5 kingdoms of organismal classifications, and the concept of species. Moreover, students improved on self awareness of conservation about species diversity in their community. The results of the study will be benefitial for science teachers and educators to involve teacher professional development in teaching and learning about the species diversity concepts through community funds of knowledge.

Keywords: community funds of knowledge, social constructivism, species diversity, students’ conception, teaching and learning

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้หน่วยการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โดยใช้ความรู้ในบริบทชุมชนและท้องถิ่นของผู้เรียนที่มีต่อการสอนของครู และการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ แนวคิดและความตระหนักเรื่องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ ศึกษา คือ ครูผู้สอนวิชาชีววิทยาจำนวน 1 คน นักเรียนจำนวน 42 คน จากโรงเรียนระดับตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัด ราชบุรี การเก็บข้อมูลจากการสังเกตการจัดการเรียนการสอน การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการตอบ แบบสำรวจแนวคิดและความตระหนัก วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี Thematic analysis และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจแนวคิดโดยจัดกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ผลจากการศึกษา พบว่า ครูผู้สอนเปลี่ยน แนวคิดโดยเน้นบริบทชุมชนและท้องถิ่นของนักเรียนมากขึ้น จัดการเรียนการสอนโดยเน้นความรู้เดิม การมี ปฏิสัมพันธ์ของนักเรียน จัดกิจกรรมที่หลากหลาย และให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง แต่อย่างไรก็ตาม ครูผู้สอน ยังคงเน้นการท่องจำของนักเรียน นอกจากนี้พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 65-80 พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับความ หลากหลายของสิ่งมีชีวิตทุกแนวคิด สอดคล้องกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และแนวคิดทางวิทยาศาสตร์บางส่วน ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตทั้ง 5 อาณาจักร (สัตว์ พืช ฟังไจ โพรติสตา และมอเนอรา) และแนวคิดเกี่ยวกับสปีชีส์ และพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความตระหนัก ในการดูแลรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในชุมชนของนักเรียนมากขึ้น ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อครูวิทยาศาสตร์ และนักการศึกษาในการพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน และท้องถิ่นของผู้เรียน

คำสำคัญ: การเรียนการสอน, การสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการทางสังคม, ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=800