รอดทุกข์, ., คูหา, ., เชิงเชาว์, ., Rodtook, <., Kuha, A., & Churngchow, C. (2010, November 8). ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษต่างกัน
Effects of Simulation Technique on Communicative English Speaking Skills and Emotional Intelligence (EI) of Mathayomsuksa Two Students with Different English Attitudes. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(4). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=792.

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษต่างกัน
Effects of Simulation Technique on Communicative English Speaking Skills and Emotional Intelligence (EI) of Mathayomsuksa Two Students with Different English Attitudes

ธิดาพร รอดทุกข์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อริยา คูหา, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชิดชนก เชิงเชาว์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Thidaporn Rodtook, Department of Psychology and Guidance, Faculty of Education, Prince of
Ariya Kuha, Department of Psychology and Guidance, Faculty of Education, Prince of Songkla
Chidchanok Churngchow, Department of Education Measurement and Evaluation, Faculty of Education, Prince

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากิริยาร่วมระหว่างวิธีสอนและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อทักษะ การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเชาวน์อารมณ์ของนักเรียน 2) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิคสถานการณ์จำลองกับนักเรียนที่ได้รับ การสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนที่มี เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษสูงกับนักเรียนที่มีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 120 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงทดลองแบบสองตัวประกอบที่มีการทดสอบครั้งเดียว หลังการทดลอง (Posttest- Only Experiment in Factorial Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้สถานการณ์จำลองและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างละ 8 แผน 2) แบบวัดเจตคติ ต่อวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .9445 3) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 4) แบบประเมินเชาวน์อารมณ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .8117 สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Test of Homogeneity of Variance) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ของข้อมูลใช้แบบแผนแบบบล็อกสุ่มกลุ่มทั่วไป โมเดลกำหนด 2 × 2 (Generalized Randomized Block Design) ผลการวิจัยพบว่า มีกิริยาร่วมระหว่างวิธีสอนและเจตคติต่อวิชาภาษา อังกฤษที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่มี กิริยาร่วมระหว่างวิธีการสอนและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อเชาวน์อารมณ์ของนักเรียน นักเรียนที่ได้รับ การสอนด้วยเทคนิคสถานการณ์จำลองมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการ สอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิคสถานการณ์จำลองมี เชาวน์อารมณ์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่มีเจตคติ ต่อวิชาภาษาอังกฤษสูงมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสูงกว่านักเรียนที่มีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่มีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษสูงมีเชาวน์อารมณ์สูงกว่านักเรียน ที่มีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: เชาวน์อารมณ์, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ, เทคนิคสถานการณ์จำลอง

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=792