หนูหมื่น, . (1970, January 1). จินตภาพในรวมบทกวีนิพนธ์ มือนั้นสีขาว ของศักดิ์สิริ มีสมสืบ. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 9(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=69.

จินตภาพในรวมบทกวีนิพนธ์ มือนั้นสีขาว ของศักดิ์สิริ มีสมสืบ

วรรณนะ หนูหมื่น, คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีภาคใต้

Abstract

บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาจินตภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสื่อสารเนื้อหาในรวมบทกวีนิพนธ์ มือนั้นสีขาวของศักดิ์สิริ มีสมสืบ มือนั้นสีขาว มีลักษณะเด่นที่การต่อต้านความคุ้นเคยทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหา กวีสามารถใช้องค์ประกอบเสียงและคำอย่างเป็นอิสระ สื่อประสบการณ์ทางสุนทรียะและกระตุ้นความคิดได้อย่างมีพลัง ทั้งกลอนไร้สัมผัสและร้อยกรองมีลักษณะร่วมกันที่ความประสานของรูปแบบและเนื้อหา โดยเฉพาะร้อยกรองที่ปรับเปลี่ยนฉันทลักษณ์แบบประเพณีที่คุ้นชินให้มีความรื่นไหลและไม่ตายตัว ลักษณะเด่นในด้านเนื้อหาของรวมบทกวีนิพนธ์เรื่องนี้อยู่ที่การแสดงสิ่งสำคัญในชีวิตที่สังคมสมัยใหม่มองข้ามไป คือ จินตนาการ ความรักและปัญญา ซึ่งปรากฏอย่างชัดเจ้งในโลกของเด็กและวิถีชีวิตชนบท กวีกระตุ้นผู้รับสารให้คิดและรู้สึกว่าความเข้าใจชีวิตของคนส่วนใหญ่คลาดเคลื่อนไปจากความหมายและคุณค่าที่แจ้งของความเป็นมนุษย์ แนะให้เรามองโลกด้วยสายตาและจินตนาการของเด็กและคนชนบทที่ใช้ชีวิตอย่างสมถะ กลมกลืนกับธรรมชาติพร้อม ๆ กับชี้ปัญหาของความเสื่อมอันเนื่องจากการพัฒนาทางวัตถุที่ผิดพลาด

คำสำคัญ : กวีนิพนธ์, การต่อต้านความคุ้นเคย, จินตภาพ

Abstract
This article aims to study imagery in Saksiri Misomsup’s book of poems-Mu Nan Si Khao. The outstanding feature of Mu Nan Si Khao lies in its defamitiarization of form and content. Saksiri manipulates sounds and words to effectively convey aesthetic experiences as well as to provoke thought. The harmony of form and content can be found both in his free verse and poems. Familiar conventional versification has been customized to render smooth overflowing and unconstrained verse. With respect to content, the book remarkably depicts life’s essence-imagination, love and wisdom-which is overlooked by modern society, but is salient in the world of children and in the rustic way of life. The poet invokes the readers to ponder and reminds them that most people’s concept of life deviates from the true meaning and value of humanity. The readers are encouraged to view the world through the eyes of children with lively imagination and through the eyes of rural people who live a complacent life and in harmony with the nature. Alarming problems of spiritual and ethical deterioration resulted from misconceived materialistic development have also been portrayed.

Keywords : defamiliarization, imagery, poem

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=69