นานช้า, ., จิตร์จำนงค์, ., วรรณโชติ, ., Nanchar, <., Chitchamnong, D., & Wannachot, A. (2009, July 27). คำบอกบุรุษและคำนามแทนผู้พูดผู้ฟังในการสนทนาในภาษาไทยถิ่นใต้: กลุ่มนครศรีธรรมราช
Personal Pronouns and Pronominal Nouns in Conversational Southern Thai Dialect : Nakhon Si Thammarat Group. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=621.

คำบอกบุรุษและคำนามแทนผู้พูดผู้ฟังในการสนทนาในภาษาไทยถิ่นใต้: กลุ่มนครศรีธรรมราช
Personal Pronouns and Pronominal Nouns in Conversational Southern Thai Dialect : Nakhon Si Thammarat Group

สุภาวดี นานช้า, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดวงมน จิตร์จำนงค์, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อาภาพรรณ วรรณโชติ, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Supawadee Nanchar, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla
Duangmon Chitchamnong, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla
Apapan Wannachot, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla

Abstract



This paper attempted to examine personal pronouns and pronominal nouns in conversational Southern Thai dialect of the Nakhon Si Thammarat group and their cultural aspects. The focal points included relationships between the speakers and the addressees in terms of kinship, age and social status. The collected data was obtained from a questionnaire, interviews and observations. It was found that personal pronouns used in rural and urban areas could be classified into old and new terms. The common trait was the indication of age and kinship ; kinship terms were also used. However, while in the rural communities some terms for real relatives and non-relatives differed as the words ‘ta’ (grandfather) and ‘yai’ (grandmother) were not for relatives, both words were used for relatives in urban communities. Concerning social status, the respectful personal pronoun ‘than’ (you) was used only in town. The terms ‘pho kha’ (male merchant) and ‘mae kha’ (female merchant) used as addressee terms did not appear among those in rural communities where most knew each other. Nouns identifying acadmic and official positions were used in both areas. Except for ‘ton’ which is used for monks, terms for monks as well as ex-monks such as ‘chao’ or ‘luang’ were used in rural communities with kinship terms / nicknames. While ‘nen’ was used for an ex-ordained man only by his parents, ‘nen’ followed by his nickname was commonly used for a young ex-ordained by others. Intimacy/distance between speakers and addressees was related to politeness in the use of personal pronouns. New personal pronouns both in rural and urban communities revealed influences of educational system and mass communication which may make some old terms disappear with the old generation. Moreover, nouns referring to speakers and addressees which indicated age relation were replacing words used only for real relatives. This tendency is evident in urban communities. Keywords: Nakhon Si Thammarat Group, personal pronouns, pronominal nouns, Southern Thai dialect

บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษาคำบอกบุรุษและคำนามแทนผู้พูดผู้ฟังในการสนทนาในภาษาถิ่นใต้กลุ่ม นครศรีธรรมราช ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางวัฒนธรรม โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของผู้พูดและผู้ฟังในด้านเครือญาติ และมิติวัยกับมิติสถานภาพทางสังคม ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ออกแบบสอบถาม ร่วมกับการ สังเกต ผลการศึกษา พบว่า คำบอกบุรุษและคำนามแทนผู้พูดผู้ฟังทั้งในชนบทและเมืองจำแนกได้เป็นคำเก่าและคำใหม่ มีลักษณะร่วมที่แสดงความสัมพันธ์ในเครือญาติ การคำนึงถึงมิติวัย/นับญาติกับบุคคลที่มิใช่ญาติ โดยที่ในชนบทยัง แยกคำเรียกญาติออกจากคำนับญาติ คือ ตา ยาย ไม่ใช้กับญาติ ส่วนในเมืองใช้กับญาติด้วย ในด้านสถานภาพทาง สังคม มีคำบอกบุรุษ ท่าน เป็นคำใหม่ใช้เฉพาะชุมชนเมือง คำเรียกผู้ฟัง พ่อค้า แม่ค้า ซึ่งไม่มีใช้ในชนบทอันเป็น ชุมชนที่คนรู้จักกันเป็นส่วนใหญ่ และมีคำนามที่แสดงตำแหน่งการงานในสถานศึกษา และการบริหารส่วนท้องถิ่นของ ทั้ง 2 ชุมชน คำเรียกพระสงฆ์ทั้งที่บวชอยู่และที่ลาสิกขาบทแล้ว เช่น เจ้า และหลวง ในชนบทยังใช้ตามหลังคำเรียก ญาติ/ชื่อเล่น เช่น น้องเจ้า พี่หลวง หลวงไก่ ยกเว้น ต้น ใช้เฉพาะผู้ที่อยู่ในสมณเพศ ส่วน เณร เป็นคำที่พ่อแม่ใช้ เรียกลูกที่ลาสิกขาบทแล้ว และคนทั่วไปใช้นำหน้าชื่อผู้ที่ผ่านการอุปสมบท ซึ่งมีวัยอ่อนกว่า ความสนิทสนม/ระยะห่าง ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังมีความสัมพันธ์กับความสุภาพในการใช้คำบอกบุรุษและคำนามแทนผู้พูดผู้ฟังด้วย คำบอกบุรุษ ที่เป็นคำใหม่ทั้งในชนบทและเมือง แสดงอิทธิพลของระบบการศึกษาและสื่อมวลชน ซึ่งอาจจะส่งผลให้คำบอกบุรุษที่ เป็นคำเก่าบางคำถูกเลิกใช้ไป ดังที่มีแนวโน้มว่า คำบางคำอาจสูญหายไปเมื่อหมดคนรุ่นผู้ใหญ่ นอกจากนี้การที่คำนาม แทนผู้พูดผู้ฟัง ที่แสดงมิติวัย กำลังเข้ามาแทนที่คำที่ใช้เฉพาะในเครือญาติ เป็นแนวโน้มที่เห็นได้ชัดในชุมชนเมือง

คำสำคัญ: กลุ่มนครศรีธรรมราช, คำนามแทนผู้พูดผู้ฟัง, คำบอกบุรุษ, ภาษาถิ่นใต้

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=621