มะกรูดอินทร์, ., ยุตาคม, ., จันทรโรทัย, ., Magrood-In, <., Yutakom, N., & Jantrarotai, P. (2009, July 27). การรับรู้ของครูประจำการวิทยาศาสตร์ในโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ต่อการเรียนการสอนชีววิทยาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Perception of In-service Science Teachers in the Project for the Promotion of Science and Mathematics Talented Teachers(PMST) on Teaching and Learning Biology in Lower Secondary Grade Level. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=619.

การรับรู้ของครูประจำการวิทยาศาสตร์ในโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ต่อการเรียนการสอนชีววิทยาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Perception of In-service Science Teachers in the Project for the Promotion of Science and Mathematics Talented Teachers(PMST) on Teaching and Learning Biology in Lower Secondary Grade Level

พจนา มะกรูดอินทร์, โครงการผลิตนักวิจัยพัฒนาด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
นฤมล ยุตาคม, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พัฒนี จันทรโรทัย, ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Pojchana Magrood-In, The Program to Prepare Research and Development Personnel for Science Education,
Naruemon Yutakom, Department of Education, Faculty of Education, Kasetsart University
Pattanee Jantrarotai, Department of Zoology, Faculty of Science, Kasetsart University

Abstract



บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้ของครูประจำการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเรียนการสอนชีววิทยา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามถามครูประจำการวิทยาศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาตาม โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ในปีการศึกษา 2547 และมีประสบการณ์ในการสอนวิทยาศาสตร์น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งกำลังสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 155 คน ในด้าน ต่าง ๆ ดังนี้ 1) ความยากและสาเหตุของความยากในการสอนเนื้อหาชีววิทยา และ 2) แนวทางในการสอนเนื้อหา ชีววิทยา ได้แก่ จุดประสงค์ในการสอน ลักษณะของเนื้อหาสาระที่สอน การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมิน ผล ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาและร้อยละ ผลการศึกษาจากครูวิทยาศาสตร์ที่ตอบแบบ สอบถามกลับมาจำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 57.4 ระบุว่าครูเคมี (ร้อยละ 73) ครูฟิสิกส์ (ร้อยละ 46.1) และครูชีววิทยา (ร้อยละ 44) มีความยากมากที่สุดในการสอนหัวข้อเรื่องพันธุศาสตร์ และไม่มีความยากในการสอนหัวข้ออาหารและ สารอาหาร สาเหตุของความยากในการสอนเนื่องมาจากครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน และนักเรียนไม่มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระเกี่ยวกับแนวทางในการสอนชีววิทยาให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ครูให้ความเห็นว่าสอนชีววิทยาเพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ความ รู้ในชีวิตประจำวัน เนื้อหาสาระที่สอนจะต้องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนลงมือ ปฏิบัติและประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนตามสภาพจริง ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จากการศึกษาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาช่วยเหลือครูวิทยาศาสตร์ในเรื่องความเข้าใจเนื้อหาวิชาและแนว ทางการจัดการเรียนการสอนให้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพต่อไป

คำสำคัญ: การรับรู้, การเรียนการสอนชีววิทยา, ครูประจำการวิทยาศาสตร์

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=619