พงศกรรังศิลป์, ., & ฉันสำราญ, . (1970, January 1). การรับรู้เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคใต้. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 9(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=58.

การรับรู้เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคใต้

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สุชาติ ฉันสำราญ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และการรับรู้เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคใต้ และศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคใต้มีการรับรู้ที่แตกต่างกัน โดยธุรกิจการท่องเที่ยวที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ 1) ธุรกิจโรงแรม ที่พัก 2) ธุรกิจนำเที่ยว และ 3) ธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคใต้ทั้งหมด 3,051 ราย เมื่อนำแบบสอบถามที่ได้รับมาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ปรากฏว่าสามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลได้ จำนวน 291 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.54 ข้อมูลที่ได้รับจากการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภาคใต้ โดยเฉพาะในธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจที่ส่งแบบสอบถามกลับคืนมามากที่สุดคือ ธุรกิจโรงแรม ที่พัก รองลงมาคือ ธุรกิจนำเที่ยว และธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ตามลำดับ ธุรกิจที่มีเว็บไซต์มีเพียงร้อยละ 45.02 โดยธุรกิจส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.20 มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ (e-mail) และธุรกิจที่มีการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 48.45 โดยที่นำมาใช้กันมากคือ การโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ รองลงมาคือ การติดต่อสื่สารกับนักท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ สำหรับธุรกิจที่มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินธุรกิจนั้น พบว่ามีการรับรู้ในด้านประโยชน์ที่ได้รับในระดับมาก ในส่วนของปัญหาที่พบนั้น ธุรกิจมีการรับรู้ในระดับปานกลาง และธุรกิจที่ไม่มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินธุรกิจนั้น พบว่ามีการรับรู้ว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินการในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจที่นำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจมีการรับรู้ในด้านบวกต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจที่ไม่มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น เนื่องจากปัญหาด้านทรัพยากรไม่เพียงพอ และไม่มั่นใจในการดำเนินธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมุ่งเน้นการนำเสนอผลประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาระบบสนับสนุน เช่น ระบบโทรคมนาคม กฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ และระบบความปลอดภัยจากธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ

คำสำคัญ : การรับรู้, ธุรกิจการท่องเที่ยว, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ภาคใต้

Abstract
The study is aimed to explore the status and perception of electronic commerce (e-Commerce) of tourism businesses in southern region. The factors that drive that such perception are also in focus. Tourism businesses cover 3 business areas; hospitalities, tour operators, and souvenir shops. Raw data was collected by mail-questionnaires to businesses where 3,051 were sent and 291 were received (9.54%) and ready for study. Sample size from the largest to smallest was from hospitalities, tour operators, and souvenir shops, respectively. The results show that 45.02% of studied tourism businesses have their own websites, 62.20% uses e-mail and 48.45% uses some forms of the e-Commerce to run their businesses. The main purposes of the e-Commerce applied in business are to advertise, to do public relations, and to communicate with tourists and other stakeholders, respectively. To the tourism businesses using the e-Commerce, they have positive perception about the advantage of e-Commerce in high level, and have a negative perception about problems of the e-Commerce in moderate level. Those who do not use the e-Commerce, have a negative perception about problems and threats in moderate level. The main reasons why they do not apply the e-Commerce because they do not have sufficient resources, and are not sure about its secured transactions. Therefore, the government and concerning organizations should put more effort to emphasize on the advantage of e-Commerce by developing infrastructure, electronic law and security transaction system to promote the full-ranged e-Commerce.

Keywords : e-commerce, perception, Southern Thailand. Tourism business

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=58