ปราณี, ., & Pranee, <. (2008, June 25). FASSION Model: รูปแบบการเรียนการสอนวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
FASSION Model: Instructional Model Development of Social Sciences Research Methodology for Local Development of Nakornsawan Rajabhat University . Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 14(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=514.

FASSION Model: รูปแบบการเรียนการสอนวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
FASSION Model: Instructional Model Development of Social Sciences Research Methodology for Local Development of Nakornsawan Rajabhat University

ไชยรัตน์ ปราณี, ภาควิชาทดสอบและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Chairat Pranee, Faculty of Education, Nakornsawan Rajabhat University

Abstract

The purpose of the research was to develop the instructional model of Social Science Research Methodology for Local Development of Nakornsawan Rajabhat university. It was composed of 2 following steps: step one: developing the instructional model of research methodology for local development, step two: implementing and evaluating the efficiency of the instructional model of research methodology for local development. The results of research were as follows. 1) The instructional model called FASSION model, was composed of 6 stages : (1) Face to the problem (2) Study in theory (3) Specify to the solving (4) Implement the research (5) Overall research and evaluation and (6) Notify innovation. The efficiency level of the instructional model was in high level (= 4.32). 2) The result of the implementation was efficient as follows : the achievement of learning, the research skills, and the attitude of doing research after try-out were higher than before try-out, the significant level was at .01. The quality of research and community opinion towards the student research’s quality were in high level.

Keywords: FASSION model, instructional model, local development, research skill

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ขั้นตอนการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะที่ 2 การดำเนินการทดลองและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นประกอบด้วย 6 ขั้นตอน เรียกว่า FASSION model : (1) ร่วมกันเผชิญปัญหา (2) ศึกษาแนวคิดทฤษฎี (3) กำหนดวิธีการแก้ไข (ทำโครงร่างวิจัย) (4) ปฏิบัติการวิจัยเพื่อท้องถิ่น และชุมชน (5) สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ และ (6) เผยแพร่นวัตกรรม ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (= 4.32) 2) รูปแบบการเรียนการสอนวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน/ทักษะทางด้านการวิจัย/เจตคติต่อการทำวิจัยของนักศึกษาหลังเรียน พบว่า สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับคุณภาพของงานวิจัย และ ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพงานวิจัยของนักศึกษาพบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: ทักษะการวิจัย, รูปแบบการเรียนการสอน, FASSION Model, การพัฒนาท้องถิ่น

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=514